เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

Lannamagazine

Lannamagazine的บล๊อก

Lannamagazine的主頁 | ดูทั้งหมด

ความหมายของคำว่า "ล้านนา"

2010-05-15 09:16
 
 
ความหมายของล้านนา
 
 
ความหมายของคำว่าล้านนา
ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา นักวิชาการไทยได้ตื่นตัวหันมาสนใจศึกษาและปัญหาท้องถิ่นในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ก็เหมือนกับการศึกษาภาษาล้านนาซึ่งแปลว่าที่นาจำนวน 1 ล้าน ด้วยเหตุผลดังนี้
1. คำว่าลานนา ไม่มีในภาษาไทยเหนือ ไทยเหนือใช้คำว่าลานเฉพาะ กับต้นลานและใบลาน ส่วนลานซึ่งแปลว่าที่ราบโล่ง ภาษาไทยเหนือเรียกว่า ข่วง และเรียกลานที่ใช้สำหรับนวดข้าวว่า ตะลางตีข้าว
2. การวัดพื้นที่ในภาคเหนือยุคเก่าวัดเป็น 100 นา 1000 นา 10,000 นา 100,000 นา และ 1,000,000 นา และจำนวนดังกล่าวเป็นตำแหน่งทางราชการด้วย จากหลักฐานที่พบ เขตเมืองเชียงแสนมี 65 ปันนา เขตเมืองเชียงรายมี 27 ปันนา และเขตเมืองเชียงรุ่งมี 12 ปันนา เป็นต้น
3. มีหลักฐานศิลาจารึกสมุดข่อยและใบลานหลายชิ้น ใช้คำว่าล้านนา และยังกล่าวถึงอาณาจักรล้านช้าง บ้านพี่เมืองน้องของล้านนา ซึ่งรุ่งเรืองในระยะไล่เลี่ยกัน และมีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง
4. การที่หลักฐานในอดีตใช้ทั้งคำว่าล้านนาและลานนา ล้านช้างและลานช้าง น่าจะเกิดจากการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ ซึ่งต่างกันในหลายท้องที่ นอกจากนี้ในบางระยะการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์มีน้อยมากและบางระยะก็ไม่มีการใช้เลย

 
ที่มา : หนังสือ มาจากล้านนา ของธเนศวร์ เจริญเมือง

--------------------------------------------------------------------------------------------
 
ความหมายของล้านนา (อีกสำนวนหนึ่ง)
 

คำว่า "ล้านนา" แปลมาจากคำศัพท์ภาษาบาลีคือ "ทสลกฺขเขตฺตนคร " อ่านว่า (ทะ-สะ-ลัก-ขะ-เขด-ตะ-นะ-คะ-ระ) แปลว่า
" เมืองสิบแสนนา" (ทส = สิบ, ลักข = แสน, เขตต = ที่ดิน ที่นา, นคร = เมือง) หมายถึงดินแดนที่มีที่นาจำนวนนับล้าน คู่กับคำว่า
"ล้านช้าง" หรือ "ศรีสตนาคนหุต" คือ ดินแดนที่มีช้างนับล้านตัว หรือช้างร้อยหมื่น (สต = ร้อย, นาค = ช้าง, นหุต = หมื่น)

ในการเขียนเอกสารโบราณล้านนาแต่เดิมมา จะไม่เคร่งครัดเรื่องการใส่รูปวรรณยุกต์ โดยเฉพาะในยุคแรกๆ นั้น แทบจะไม่ใช้วรรณยุกต์เลย ดังนั้น ในคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก จึงมีทั้งคำว่า "ล้านนา" และ "ลานนา" ปรากฏอยู่ ทำให้ผู้คนในสมัยนั้นคุ้นเคยกับการใส่หรือไม่ใส่วรรณยุกต์ และเป็นที่เข้าใจตรงกันว่า คำไหนก็ตาม ที่ต้องออกเสียงเหมือนมีวรรณยุกต์กำกับอยู่ แม้จะไม่ใส่รูปวรรณยุกต์ ก็ให้อ่านออกเสียงเช่นนั้น กระทั่งช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระบบการเขียนอักษรธรรมล้านนาจึงมีการใช้รูปวรรณยุกต์อย่างชัดเจน

พ.ศ 2526 ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันได้อย่างชัดเจน เมื่อ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และจารึกล้านนา ได้นำเสนอบทความต่อที่ประชุมวิชาการเกี่ยวกับศิลาจารึกวัดเชียงสา พ.ศ.2097 ว่าข้อความในจารึกนั้น คำว่า "ลานนา" ใส่ไม้โท ด้วย โดยเขียนคู่กับ คำว่า "ล้านนา" ทำให้นักวิชาการเสนอให้ใช้ คำ "ล้านนา" แทน "ลานนา" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อจังหวัดเชียงใหม่จัดพิมพ์หนังสือ "ล้านนาไทย" เพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.2527 คำ "ล้านนา" ก็เป็นที่รู้จักและยอมรับกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วง พ.ศ.2530 ได้มีการโต้เถียงในเรื่องนี้กันอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นประธาน ได้ให้ข้อสรุปว่า คำ "ล้านนา" เป็นคำที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นอันยุติปัญหา และใช้คำว่า "ล้านนา" กันอย่างกว้างขวางมาจนปัจจุบัน

 
อ้างอิง :
 

----------------------------------------------------------------------------------
 
 

 
แชร์ 5721 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น