เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

Apirat

Apirat的บล๊อก

Apirat的主頁 | ดูทั้งหมด

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น

2010-10-21 21:51
 
 

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น      

      วรรณคดีที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่องคล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งแตกต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมาก วรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรองทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี่ สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้นวรรณคดีที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น

๑.ลิลิตโองการแช่งน้ำ

ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ประวัติ ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่๔ ตามหลักฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ "แทงพระแสงศรประลัยวาต" "แทงพระแสงศรอัคนิวาต" และ "แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์"คำประพันธ์ที่ใช้คือโคลงห้าและร่ายโบราณ  

ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี

ความมุ่งหมาย ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕

เรื่องย่อ เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร  พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีขี้เล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน

๒.มหาชาติคำหลวง

ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์

ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่องมหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง

ความมุ่งหมาย เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรมราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง

เรื่องย่อ มหาชาติคำหลวง แปลว่าชาติใหญ่ ชาติสำคัญ เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการบำเพ็ญทานอย่างยิ่งใหญ่ ของพระเวสสันดรโพธิสัตว์ เป็นการบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี และเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวเป็นทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการบริจาคบุตรและภรรยา ซึ่งเป็นการยากหาผู้จะทำได้ พระองค์ทรงบริจาคทานทุกอย่างด้วยศรัทธาแรงกล้า มหาชาติคำหลวง ซึ่งได้กล่าวแล้วว่า ฉบับเดิมเป็นภาษามคธ แต่งเป็นปัฐยาวัตรฉันท์ มีจำนวน ๑,๐๐๐ บทด้วยกัน

๓.ลิลิตยวนพ่าย

ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ

ประวัติ สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒)

ทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร ๓๖๕ บท

ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น

เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมืองสุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับเชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิตหนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียงชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่พ่ายไปได้เมือวเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง

 ๔.ลิลิตพระลอ  

ผู้แต่ง  อาจเป็นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕)

ทำนองแต่ง เป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วนใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น

ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย

เรื่องย่อ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ต้องพระทัยพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนางโรยพระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปูเจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรวง เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้งนางขวัญพระพี่เลี้ยงพระลอทรงเสี่ยวน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงผืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปูเจ้าสมิงพรายล่อพระลอกับนายขวัญและนายแก้วไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วและนายขวัญไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อนพระแพง ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาลพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับพระลอ พระเพื่อนพระอพงและพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมดท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระเจ้าย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์สาม ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองกัลเป็นไมตรีต่อกัน

๕.โคลงกำสรวล

ผู้แต่ง ศรีปราชญ์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท

ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป

เรื่องย่อ เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎร์สมบูรณ์พูนสุข ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใดเดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำลบที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะเรียน ด่านขนอน บางทรนาง บางขดาน ย่านขวาง ราชคราม ทุ่งพญาเมือง ละเท เชิงราก  นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่พบได้นางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา และพระสมุทรโฆษกกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช

๖.โคลงทวาทศมาส

ผู้แต่ง
พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ

ประวัติ หนังสือนี้มีการสันนิษฐานผู้แต่งต่างกันไป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าผู้แต่ง คือ ขุนศรีกวีราช ขุนพรหมมนตรี และขุนสารประเสริฐ บางท่านว่า พระเยาวราช ทรงนิพนธ์ ที่เหลือช่วยแก้ไข ส่วนพระยาตรังคภูมิบาล และนายนรินทรธิเบศร กล่าวแต่เพียงสามคนร่วมกันแต่ง

ทำนองแต่ง โคลงดั้นวิริธมาลี

ความมุ่งหมาย มีผู้สันนิษฐานว่าคงแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน มิได้จากนางจริงโดยสมมติเหตุการณ์ขึ้น

เรื่องย่อ โคลงเรื่องนี้ได้ชื่อว่าทวาทศมาส เพราะพรรณนาถึงความรักความอาลัยรัก และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบสิบเดือน ทวาทศมาสแปลว่าสิบสองเดือน ตอนต้นสรรเสริญเทพเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน ชมความงามของนางที่ต้องจากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระอนิรุทธ์ พระสมุทรโฆษ พระสุธนู พระสูตรธนู แล้วแสดงความน้อยใจที่ตนไม่อาจไปอยู่ร่วมกับนางอีกอย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ต่าง ๆ และลมฟ้าอากาศในรอบปีหนึ่งๆ ตั้งแต่เดือน ๕ ถึง เดือน ๔ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธีอะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียดละออ เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธีอาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และเดือนสี่กระทำพิธีตรุษ เป็นต้น ต่อจากนั้นถามข่าวคราวของนางจาก ปี เดือน วัน และยาม ขอพระเทพเจ้าให้ได้พบนาง ตอนสุดท้ายกล่าวสรรเสริญพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน 

๗.โคลงหริภุญชัย

ผู้แต่ง สันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพแต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลางอีกตอนหนึ่ง

ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่าอาจเป็นประมาน พ.ศ.๒๑๘๐หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่พระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ราวศักราชสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และกวีทางใต้คงนำมาดัดแปลงราวศักราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร ได้ศึกษาโคลงเรื่องนี้โดยเทียบกับต้นฉบับภาษาไทยเหนือที่เชียงใหม่และลงความว่าจะแต่งขึ้นในสมัย พ.ศ.๒๐๖๐ ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่พระแก้วมรกตยังอยู่ที่เจดีย์เชียงใหม่ เนื่องจากนิราศเรื่องกล่าวถึงพระแก้วมรกตไว้ด้วย

ทำนองแต่ง เดิมแต่งไว้เป็นโคลงไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดเป็นโคลงสุภาพ

ความมุ่งหมาย ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัย

เรื่องย่อ เริ่มบทบูชาพระรัตนตรัย บอกวันเวลาที่แต่ง แล้วกล่าวถึงการที่ต้องจากนางที่เชียงใหม่ไปบูชาพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก่อนออกเดินทางได้นมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ ขอพรพระมังราชหรือพระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลเทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณนาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอดทางจนถึงเมืองหริภุญชัย ได้นมัสการพระธาตุสมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่  

ขอบคุณที่มา  http://www.nuanphun.com/no102.html                    

                   http://www.geocities.com/thailit_sd/readayu.htm                      

                   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%84E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2 

แชร์ 2250 ดู | 0 ความเห็น

ความเห็น