เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

monpasang

monpasang的บล๊อก

monpasang的主頁 | ดูทั้งหมด

สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ในตำบลหงส์หิน อ

2010-08-09 10:13
 
 
                                    ร่วมสร้างป๋าระมีบุญ
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสร้างเสนาสนะ อาทิเช่น
๑. กุฎิสงฆ์
๒. บันไดขึ้นพระธาตุ
๓. วิหารจำลอง
๔. ครอบองค์พระธาตุ
๕. ต่อสายไฟขึ้นพระธาตุ
      ณ โบราณสถานวัดพระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย) บ้านสักลอใหม่ หมู่ที่ ๘ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

     ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนสร้างเสนาสนะต่างๆ ในวัน เสาร์ ที่ ๓๐ เดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ณ พระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย)
     
     ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญประเพณี ๕ เป็ง สรงน้ำพระธาตุกู่คำ,พระธาตุศรีมุงเมือง และร่วมกันยกยอดฉัตรพระธาตุศรีมุงเมือง(ดงปูแกง) ในวันที่ ๑ - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔


ประวัติ พระธาตุศรีมุงเมือง (ม่อนดงปูแกง)

***********************

พระ ธาตุศรีมุงเมือง เป็นปูชนียสถานสำคัญคู่กันกับ พระธาตุกู่คำ (กู่ม่อนป่าซางน้อย) เป็นโบราณสถานยุคเชียงแสน(เมืองเวียงลอ) อยู่ติดกับโบราณสถานกู่ม่อนป่าซางน้อย(พระธาตุกู่คำ) ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่าดอยจิกจ้อง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญของหมู่บ้านสักลอใหม่ ถูกขุดค้นทำลายและทิ้งรกร้างมาหลายชั่วคน จนกระทั่งวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ พระสุทธิพงษ์ สิริวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดสักลอใหม่ พระอภิชัย สญฺญโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฯ และสามเณรลูกวัด ได้ร่วมกับ พระบุญศรี ณฏฺฐิโก เจ้าสำนักสงฆ์พระธาตุหงส์หิน พร้อมสามเณรลูกวัด และคณะสามเณรวัดสักลอ หมู่ ๒ สามเณรสำนักสงฆ์พระธาตุทุ่งกู่ทอง หมู่ที่ ๑๓ ตลอด จนคณะศรัทธาบ้านสักลอใหม่ หมู่ที่ ๘ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะก่อสร้างองค์พระธาตุเจดีย์ขึ้นมาใหม่ ครอบบนฐานเดิมของพระธาตุเจดีย์ โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ วัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา และอนุรักษ์ป่าไม้ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี คู่กับหมู่บ้านและตำบลหงส์หินสืบต่อไป

โบราณสถานกู่ดงปูแกง หรือโบราณสถานพระธาตุศรีมุงเมือง ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่า ดอยจิกจ้อง ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งขึ้น ถ้ามองจากหมู่บ้านขึ้นไปจะเห็นเป็นรูปร่มกาง เป็นรูปสามเหลี่ยม ภาษาเหนือเรียกร่มว่า?จ้อง? คำว่า?จิก?แปลว่า ยอด ดังนั้นเขาลูกนี้ลักษณะเหมือนร่มที่กางอยู่มียอดหรือปลายร่มแหลม พระธาตุศรีมุงเมือง ดูจากซากอิฐและฐานของเจดีย์บอกให้รู้ว่า เป็นพระเจดีย์ขนาดย่อม ไม่ใหญ่มากนัก มีเศษกระเบื้องมุงหลังคาฝังใต้พื้นดิน ใกล้องค์พระเจดีย์โบราณ มีพระพุทธรูปหินทรายแกะสลักที่ชำรุดแล้ว ศิลปะเมืองพะเยา

จากยอดเขาลาดชันมาทางทิศตะวันออก มีโบราณสถานดงปูแกง ตั้งอยู่กลางสวนลำไยของชาวบ้าน ปัจจุบันยังมีซากอุโบสถโบราณขนาดกว้าง เมตร ยาว ๘ เมตร เศษกระเบื้องดินเผา พระพุทธรูปหินทรายชำรุดขนาดต่าง ๆ จาน ชามที่แตกเคลือบสีเขียว ตลอดจนเศษใบไถที่เป็นเหล็ก สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์ศรีมุงเมือง และโบราณสถานดงปูแกง คงเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เพราะมีร่องน้ำคูเมืองโบราณล้อมรอบเป็นวงกลม ล้อมรอบภูเขาด้านทิศตะวันออก ติดกับโบราณสถานม่อนป่าซางน้อย สันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานยุคเวียงลอ ศิลปะเชียงแสนมีอายุราว ๙๐๐ ปีมาแล้ว


*****พระ ธาตุศรีมุงเมือง(ม่อนดงปูแกง) มีประเพณีสรงน้ำเป็นประจำทุกปีพร้อมกันกับพระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย) คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ เหนือ ซึ่งจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือว่าเป็นพระธาตุสองพี่น้อง เพราะอยู่ติดกัน

ประวัติ พระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย)


ประวัติ พระธาตุกู่คำ(กู่ม่อนป่าซางน้อย)

************

พระ ธาตุกู่คำ เป็นปูชนียสถานสำคัญของหมู่บ้านสักลอใหม่ และหมู่บ้านใกล้เคียง เดิมเป็นโบราณสถานสมัยเวียงลอ (ยุคเชียงแสน) ชื่อเดิมไม่ปรากฏ แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ?กู่ม่อนป่าซางน้อย?คำว่า?กู่?หมายถึง วัดร้างโบราณ คำว่า?ม่อน?ภาษาเหนือเรียกภูเขาลูกหนึ่ง ๆ ว่า?ม่อน?คำว่า?ป่าซาง?คือ ต้นไม้ไผ่ซาง โบราณสถานม่อนป่าซางน้อย ตั้งอยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านสักลอใหม่ หมู่ที่ ๘ ต.หงส์หิน อ.จุน จ.พะเยา อยู่ในเขตหมู่บ้านสักลอใหม่ โดยมีภูเขาล้อมรอบเป็นแนวยาวตาม ป่าไม้สักลอ-แม่ลอยไร่ ถัดลงมาถึงเชิงเขาทางทิศตะวันออก ปรากฏมีซากอุโบสถโบราณ สันนิษฐานว่า คงเป็นวัดสมัยโบราณ

โบราณ สถานกู่ม่อนป่าซางน้อย จากคำบอกเล่าผู้เฒ่าผู้แก่อายุ ๘๘ ปี บอกว่า องค์พระธาตุเจดีย์เดิม ได้ถูกนักล่าสมบัติกรุเวียงลอชื่อ นายสำราญ (อ้างตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลังว่า?เป็นคนขุดค้นโบราณสถานเวียงลอ ได้นำรถจิ๊บมาตะเวนขุดค้นไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ขุดทำลายทำให้องค์พระธาตุเจดีย์พังทลายลงทั้งองค์เหลือแต่ซากฐาน ส่วน สมบัติในองค์พระธาตุเจดีย์องค์นี้เชื่อกันว่ายังขุดเอาไปไม่หมด เพราะใจกลางฐานพระธาตุขุดพบกระดานหินขนาดใหญ่ปิดทับไว้ ไม่สามารถขุดลงไปได้ จากนั้นก็ถูกทิ้งรกร้างมานานหลายปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางเจ้าอาวาสวัดสักลอใหม่ พร้อมด้วยคณะศรัทธาวัดสักลอใหม่ ได้ร่วมใจกันบูรณะก่อสร้างองค์พระธาตุเจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดงา ที่อดีตเจ้าอาวาสวัดสักลอใหม่ คือ หลวงปู่ครูบาบุญตัน คนฺธวํโส ได้ค้นพบ ณ โบราณสถานกู่ม่อนป่าซางน้อยแห่งนี้ ลงไปด้วย ซึ่งประกอบพิธีบรรจุเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เมื่อสร้างสำเร็จลุล่วงได้ประกอบพิธียกยอดฉัตรและอบรมสมโภชเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓

อภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุกู่คำ(กู่ม่อนป่าซางน้อย)

ตั้งแต่ โบราณกาล ชาวบ้านสักลอ มักจะพบลูกแก้วหรือดวงไฟสีเหลืองอ่อน ล่องลอยไปมาส่องแสงเจิดจ้าบนยอดดอยกู่ม่อนป่าซางน้อยเสมอทุกวันพระแรม ๑๕ ค่ำ บางครั้งชาวบ้านมักจะได้ยินเสียงตีฆ้องกลองแว่ว ดังมาจากยอดดอยเสมอ ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีวัดไหนละแวกใกล้เคียงเขาตีกัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่า ๕๐ ปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดความสะพรึงกลัวถึงความลึกลับของกู่ม่อนป่าซางน้อยแห่งนี้



พระพุทธมงคลคีรีศรีเวียงลอ(พระเจ้าทันใจ)

เป็น พระพุทธรูปศิลปะพื้นบ้านล้านนา ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ปางประทานพร ประดิษฐานหน้าพระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย) ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านสักลอใหม่ หมู่ที่ ๘ เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ประกอบพิธีก่อสร้าง(ปั้น)ขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนแปดเหนือ(เดือนแปดสองหน) วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นพระพุทธรูปที่แปลกกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ คือ เป็น พระพุทธรูปที่ปั้นภายในคืนเดียวให้เสร็จก่อนรุ่งสาง ขณะปั้นจะมีพิธีอบรมสมโภช สวดเบิก เทศนาธรรม สวดเบิกพระเนตร กวนเข้าทิพย์ ซึ่งเหมือนกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระ พุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อว่าสามารถดลบันดาลให้ผู้ที่จะอธิษฐานขอพรต่าง ๆ ให้สมประสงค์โดยพลัน จึงเรียกว่า พระเจ้าทันใจ

พระะธาตุศรีมุงเมือง(ดงปูแกง)

สวดมนต์บนพระธาตุกู่คำ(วัน ๘ เป็ง)

คณะพระภิกษุ สามเณรที่ช่วสร้างพระธาตุศรีมุงเมือง

กำลังสร้างกุฏิบนพระธาตุกู่คำ

แบก เสากุฏิขึ้นดอยครับผม

พระธาตุกู่คำ(ม่อนป่าซางน้อย)

พระธาตุกู่คำ

สวดเจริญพระพุทธมนต์วันวางศิสาฤกษ์

แชร์ 4540 ดู | 1 ความเห็น

Footprints

ความเห็น