เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

ศิลปิน / วงดนตรี - จ๊อย-ซอ คำเมือง

  • Lannamagazine

    ซอพื้นเมือง อดีตที่กำลังจะลบเลือน

    Lannamagazine 2010-01-04 14:46
     
     

     

    ซอพื้นเมือง อดีตที่กำลังจะลบเลือน

    Posted by : denchai8 | ผู้อ่าน : 1503 | พิมพ์หน้านี้ | 10:58:03 น.

     

       ศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนานั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งการแสดงฟ้อนรำที่ต้องอาศัยความงดงามอ่อนช้อยของร่างกาย รวมไปถึงการเล่นดนตรีพื้นเมืองที่มีความนุ่มนวลไพเราะ แต่มีการแสดงพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่ผู้แสดงจะต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณพูดจาโต้ตอบกันในลักษณะคล้องจอง การแสดงดังกล่าวก็คือ ซอพื้นเมือง ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่นิยมในหมู่คนเมืองอย่างแพร่หลายในอดีต

       จุดกำเนิดของซอมีความเป็นมาอย่างไรนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดแต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าคงเดินทางผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานพอสมควรดังเช่นที่ มาลา คำจันทร์ นักเขียนระดับรางวัลซีไรท์ที่ในวันนี้เขาเลือกให้คำจำกัดความตัวเองว่า ครูใหญ่แห่งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ซอไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ แต่ก็มีช่างซอ(ภาษาเหนือเรียกจั้งซอ)บางคนที่อ้างถึงยุคหนึ่งในเมืองน่านครั้งที่ชาวเมืองน่านอพยพกันมาจากเมืองปัว แล้วต้องล่องน้ำน่านมาโดยใช้เวลานาน ก็เลยมีการร้องบทซอล้อเลียนกันจนปรับให้เข้าที่เข้าทางก็กลายมาเป็น "ซอล่องน่าน"

       เนื่องจากการซอนั้น ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนยาวนานบวกกับพรสวรรค์และความตั้งใจจริง  คุณแม่ผ่องศรี ศิลปินล้านนาแห่งเมืองเจียงใหม่ ได้พูดถึงซอพื้นเมืองในปัจจุบัน

       แม่บุญศรี ซึ่งเริ่มหัดซอมาตั้งแต่อายุ 17 ได้ชี้ให้เห็นปัญหาของช่างซอในปัจจุบันว่า หลังจากที่เศรษฐกิจซบเซา งานแสดงซอก็ลดน้อยลงไปด้วย นานๆจึงจะมีคนมาจ้างสักครั้งหนึ่ง แต่ก็จะพยายามประคองไว้เพราะยังมีลูกน้องอีกหลายสิบคน เมื่อไม่มีงานพวกเขาเล่านั้นจะอยู่อย่างไร แต่เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนนั้น เดือนหนึ่งแทบจะไม่มีวันหยุดเลยบางทีเดือนหนึ่งจะได้หยุด แค่วันเดียว บางครั้งงานมากจนไม่มีเวลากลับบ้านต้องตระเวนไปแสดงตามจังหวัด ต่างๆ ทั่วภาคเหนือ

           

        ในส่วนของการซอพื้นเมืองที่นิยมในจังหวัดเชียงใหม่นั้นส่วนใหญ่จะซอทำนองเงี้ยว หรือทำนองพม่า ซึ่งจะซอในช่วงตอนเย็นเพื่อความสนุกสนาน ชาวบ้านจะเรียกการซอแบบนี้ว่า "ซอเงี้ยวเกี้ยว" นอกจากนั้นยังมีซอปั่นฝ้าย ซอมะเก่ามะกลาง ที่กำลังแพร่หลายอยู่ใเชียใหม่ด้วย

       อย่างไรก็ตามทิศทางการอนุรักษ์ซอพื้นเมืองในปัจจุบันถูกกระแสของดนตรีสมัยใหม่และละครโทรทัศน์เข้ามาบดบังจนทำให้ซอพื้นเมืองอันเป็นศิลปะทรงคุณค่าเก่าแก่ของล้านนา กำลังถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของคนในปัจจุบัน คุณค่าและความสำคัญของซอพื้นเมืองที่เคยมีมาในอดีต หากไม่ได้รับการอนุรักษ์รักษาและถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่แล้ว บางทีซอพื้นเมืองอาจจะหลงเหลืออยู่เพียงแค่ในเทปคาสเซทก็เป็นได้

     

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=317
     
         
     

You are not a full member of the group,Can not participate in the discussion. เข้าร่วม