เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

Lannamagazine

Lannamagazine的บล๊อก

Lannamagazine的主頁 | ดูทั้งหมด

ฟ้อนสาวไหม การฟ้อนที่ผู้ชายเป็นคนต้นคิด?

2010-01-04 14:55
 
 

ฟ้อนสาวไหม

ลีลาการร่ายรำที่ถ่ายทอดวิถีชีวิต

ของหญิงสาวชาวล้านนา

Posted by : denchai8 | ผู้อ่าน : 5019 | พิมพ์หน้านี้ | 10:52:50 น.
 

          การร่ายรำของชาวล้านนาเป็นที่ยอมรับกันว่ามีความอ่อนหวานนุ่มนวลในทุกท่วงท่าอากัปกิริยา ประกอบกับดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ ซึง ไม่ว่าจะเป็นการฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ  นับเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี 

          การฟ้อนสาวไหม   ก็เป็นหนึ่งในการฟ้อนรำที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนา   เป็นการเลียนแบบท่าทางการสาวไหมของหญิงสาว  ที่ยามค่ำว่างจากการทำงานในพื้นที่เกษตรก็จะนิยมทอผ้าไหม   โดยผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่าฟ้อนสาวไหมขึ้นเป็นคนแรกคือพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาพ่อครูกุยได้ถ่ายทอดท่าฟ้อนให้บุตรสาวคือแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีพรเป็นผู้สืบทอด
แม่ครูบัวเรียวเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการฟ้อนสาวไหมว่าถ่ายทอดมาจากวิถีชีวิตของชาวล้านนา ตั้งแต่การเก็บดอกฝ้าย สาวเส้นฝ้าย เข้าสู่กระบวนการถักทอที่ปราณีตบรรจง จนกลายมาเป็นผืนผ้าในที่สุด
          สำหรับชื่อการฟ้อนสาวไหม      ยังมีหลายคนเข้าใจว่าประดิษฐ์มาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อการทอผ้าไหม แต่แท้จริงแล้วการฟ้อนสาวไหม มีที่มาจากการทอฝ้าย

          สำหรับท่ารำแม่ครูบัวเรียวได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรีคือให้อ่อนช้อยและลงจังหวะดนตรีแบบนาฏศิลป์ไทย ซึ่งในแต่ละท่วงท่าก็มีที่มาจากภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิมทั้งสิ้น ส่วนท่ารำปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว
         
ครูปิ่นรัก  พรหมเสน ครูผู้สอนการฟ้อนพื้นเมือง โรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาเล่าว่า ท่าฟ้อนสาวไหมสามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะรังสรรค์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ยังต้องคงไว้คือ การสื่ออารมณ์ของการฟ้อนเพื่อให้เข้าถึงความงดงามของวิถีชีวิตได้อย่างแท้จริง

          แม้ว่าการฟ้อนสาวไหมนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นการฟ้อนที่ยาก   แต่ก็ยังมีคนรุ่นใหม่หลาย ๆ คนให้ความสนใจและเรียนรู้ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานการฟ้อนรำนี้

          การฟ้อนสาวไหมนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวล้านนา  ที่เรียบง่ายและงดงามแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่อนุชนรุ่นหลังควรอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป
 

 

-----------------------------------------------------------------

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=299
แชร์ 2001 ดู | 2 ความเห็น

Footprints

ความเห็น

  • saomai
    saomai 2011-01-04 23:25
    ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่เกิดจากการฟ้อนเชิงบวกกับกระบวนการทอผ้าฝ้ายของล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้อนสาวไหมต้นแบบ ของแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเป็นอย่างมาก เช่น ท่าสาวไหมช้วงยาว หมายถึงการเก็บดอกฝ้ายจากต้นฝ้ายนั้น มาจากท่าเกี้ยวเกล้า ในการฟอนเชิง เป็นต้น ดังนั้นคนที่เรียนฟ้อนสาวไหมของแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ควรที่จะเรียนการฟ้อนเชิงจากท่านเพราะจะได้เขาใจการฟ้อนเชิงและฟ้อนสาวไหมอย่างถ่องแท้เพิ่มมากขึ้น
  • Lannamagazine
    saomai: ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่เกิดจากการฟ้อนเชิงบวกกับกระบวนการทอผ้าฝ้ายของล้านนา โด
    ขอบคุณจ้าดนักครับ