เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

Lannamagazine

Lannamagazine的บล๊อก

Lannamagazine的主頁 | ดูทั้งหมด

ครูภูมิปัญญาไทยภาคเหนือ รุ่นที่ ๗/๒๕๕๔

2011-08-24 18:58
 
 


ประกาศสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
เรื่อง  การยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย  รุ่นที่ ๗


       ตามที่สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา  ได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย  
โดยสรรหาบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาใน  ๙  ด้าน  ได้แก่  ด้านเกษตรกรรม  ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  
ด้านการแพทย์แผนไทย  ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน 
ด้านศิลปกรรม  ด้านภาษาและวรรณกรรม  ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี และด้านโภชนาการ 
ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูภูมิปัญญาไทย  เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดการจัดการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  
และการศึกษาตามอัธยาศัย นั้น
       บัดนี้  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  ได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ
เป็นครูภูมิปัญญาไทย  รุ่นที่ ๗  ดังนี้

ครูภูมิปัญญาไทยภาคเหนือ

๑. พระครูไพบูลย์พัฒนาภิรักษ์ = ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (การอนุรักษ์ป่าไม้)
๒. พระครูอดุลสีลกิตติ์ = ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี (ประเพณีและพิธีกรรมล้านนา)
๓. พระครูพิทักษ์ธรรมากร = ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี (การประพันธ์และการเทศน์โบราณ)
๔. นายณรงค์  แฉล้มวงศ์  = ด้านเกษตรกรรม (เกษตรอินทรีย์)
๕. นายอนันต์  กรอบเงิน = ด้านเกษตรกรรม (เกษตรผสมผสาน)
๖. นางกองนาง  กองเกิด  = ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ทอผ้าไหมและผ้ามัดหมี่)
๗. นายชัยยศ  สมสวัสดิ์  = ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (การแกะสลักไม้)
๘. นายเพชร  วิริยะ = ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (การแกะสลักช้างไม้)
๙. นายสุชาติ  สาดอ่ำ = ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (งานใบตองและบายศรี)
๑๐. นายชยพร  อนุสนธิ์พรเพิ่ม = ด้านการแพทย์แผนไทย (การปรุงยาและแปรรูปสมุนไพร)
๑๑. นายบุญรัตน์  ประโลมรัมย์ = ด้านการแพทย์แผนไทย (ปรุงยาและแปรรูปสมุนไพร)
๑๒. นายพรมมินทร์  พวงมาลา = ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน
๑๓. นายวิเชาว์  สุนันตา  = ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน (การบริหารจัดการกองทุน)
๑๔. นายดวงจันทร์  วิโรจน์  = ด้านศิลปกรรม (การซอพื้นเมือง)
๑๕. นางบัวชุม  จันทร์ทิพย์  = ด้านศิลปกรรม (ละครซอพื้นเมือง)
๑๖. นางบัวเรียว  รัตนมณีภรณ์  = ด้านศิลปกรรม (ฟ้อนสาวไหมต้นแบบ)
๑๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญรัตน์  ณ วิชัย = ด้านศิลปกรรม (แกะสลักไม้ เครื่องเรือนล้านนา)
๑๘. นายบุญศรี  รัตนัง  = ด้านศิลปกรรม (การขับซอพื้นบ้าน และเพลงลูกทุ่งคำเมือง)
๑๙. นางประไพ  สุริยะมล (แสงเอ้ย ป่าดำ) = ด้านศิลปกรรม (การซอพื้นเมือง)
๒๐. นายพรชัย  ใจมา = ด้านศิลปกรรม (จิตรกรรมแบบไทยประเพณี)
๒๑. นายพรหมเมศวร์  สรรพศรี = ด้านศิลปกรรม (ขิมและดนตรีพื้นบ้านล้านนา)
๒๒. นายมนตรี  เผือกจีน  = ด้านศิลปกรรม (การแสดงพื้นบ้าน รำกลองยาว)
๒๓. นายรุ่งโรจน์  เปี่ยมยศศักดิ์ = ด้านศิลปกรรม (จิตรกรรมและสื่อผสม)
๒๔. นายวิรัตน์  พรหมนวล  = ด้านศิลปกรรม (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา)
๒๕. นางสุนันทา  แต้มทอง (จั๋นตา ศาลาล่ม) = ด้านศิลปกรรม (ซอพื้นบ้านประยุกต์)
๒๖. นายสุวรรณ  สามสี = ด้านศิลปกรรม (งานแกะสลักช้างจิ๋วร้อยลีลา)
๒๗. นายเสถียร  ณ วงศ์รักษ์  = ด้านศิลปกรรม (วิจิตรศิลป์)
๒๘. นายอานนท์  ไชยรัตน์ = ด้านศิลปกรรม (การตีกลองล้านนา)
๒๙. นายถนอม  ปาจา = ด้านภาษาและวรรณกรรม (วรรณกรรมท้องถิ่น ค่าว)
๓๐. นายเกรียงศักดิ์  แรกข้าว  = ด้านปรัชญา  ศาสนา  และประเพณี (ประเพณีและพิธีกรรมล้านนา)
๓๑. นายสิงห์แก้ว  วงค์มูล  = ด้านปรัชญา  ศาสนา และประเพณี  (การขับซอพื้นบ้านและการสู่ขวัญ)
๓๒. นายสุนทร  บุญมี = ด้านโภชนาการ (อาหารพื้นบ้านล้านนาและอาหารแปรรูปจากลำไย)
 
                ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๕๔

 
                      
                                                                                     (ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง  จันทรางศุ)
                                                                                                 เลขาธิการสภาการศึกษา


-------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์อรุณ  ทิพย์วงค์ นายกสมาคมครูภูมิปัญญา ครับ


แชร์ 5535 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น