เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

pongsthon

pongsthon的บล๊อก

pongsthon的主頁 | ดูทั้งหมด

บาสเกตบอล

2011-08-04 12:15
 
 
ประวัติบาสเก็ตบอล

History of Basketball  
                        
                         ประวัติบาสเกตบอลของโลก(History of Basketball in The World)  

บาสเกตบอล มีประวัติยาวนานกวา 100 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 โดย Dr.James Naismith อาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนคนงานคริสเตียน ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟิล ( Springfield College )เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส สหรัฐอเมริกา ( Massachusetts, USA. ) ขณะนั้นผู้ฝึกสอนฟุตบอลของโรงเรียนต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มสำหรับ นักเรียนระหว่งฤดูหนาว และได้กำหนดกติกาพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้ ี้

  1.) ผู้เล่นใช้มือเล่นลูกบอล
2.) ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลวิ่ง
3.) ผู้เล่นสามารถยืนตำแหน่งใดก็ได้ในสนาม
4.) ผู้เล่นห้ามปะทะหรือถูกต้องตัวกัน
5.) ห่วงประตูติดตั้งไว้เหนือพื้นสนามขนานกับเส้นเขตสนาม
Dr.James Naismith ได้ใช้ไม้รูปร่างคล้ายผลท้อจัดทำเป็นห่วงประตู ติดตั้งไว้ที่ระเบียงห้องโถงตามความสูงของระเบียง ประมาณ 10 ฟุต
ครั้ง แรกใช้ลูกฟุตบอลโดยมีคนนั่งบนราวบันไดเพื่อหยิบลูกบอลออกจากประตูเมื่อเกิด การยิงประตูเป็นผล ต่อมา Dr.James Naismith ได้กำหนดหลักการเล่นขึ้น 13 ข้อ เป็นพื้นฐานของกติกาโดยใช้ทักษะมากกว่าการใช้แรง

พ.ศ.2435 ได้พิมพ์ลงในนิตยสาร ?Triangle magazine' ใช้หัวข้อว่า ?A New Game'   กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ  
  1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
  2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
  3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
  4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
  5. ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
  7. หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
  8. เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเสข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
  9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอล ครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้

    พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1

    พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังตงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม
    มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร

  

กฎและกติกาของ NBA

  กฎ เกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก

จุด มุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.25 เมตร (20 ฟุต 5 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาล์วมีค่าหนึ่งคะแนน

เกม จะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)

ใน ขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์

เครื่อง แบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้

แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด

เกม ควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก        

สนามบาสเก็ตบอล แป้นบาสเกตบอล   เทคนิคพื้นฐาน   ตำแหน่งผู้เล่นและโครงสร้าง ถึง แม้ว่าในกฎจะไม่กำหนดตำแหน่งใด ๆ ของผู้เล่น แต่เรื่องนี้มีวิวัฒนาการจนเป็นส่วนหนึ่งของบาสเกตบอล ในช่วงห้าสิบปีแรกของเกม จะใช้ การ์ดสองคน ฟอร์เวิร์ดสองคน และเซ็นเตอร์หนึ่งคนในการเล่น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการแบ่งชัดเจนขึ้นเป็น พอยท์การ์ด (หรือการ์ดจ่าย) ชู้ตติ้งการ์ด สมอลฟอร์เวิร์ด เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด และ เซ็นเตอร์ ในบางครั้งทีมอาจเลือกใช้ การ์ดสามคน แทนฟอร์เวิร์ดหรือเซ็ตเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า three guard offense
การ เล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผน การเล่นเอาไว้
ส่วน การเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมใน ขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้าง ๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับ เพื่อนร่วมทีม
โครงสร้างของการตั้งรับ การบุก และตำแหน่งการเล่น ถูกเน้นในการเล่นบาสเกตบอลระดับสูง และเป็นสิ่งที่โค้ชจะขอเวลานอกเพื่อคุยกับลูกทีม   การชู้ต การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
ผู้ เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่ บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
ผู้ เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
วิธี การชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต (set shot) และ จัมพ์ช็อต (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
ผู้ เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ   การส่งบอล ใน การส่งบอล (pass) ระหว่างผู้เล่น ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือการส่งระดับอก (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
การ ส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่ง ลูกธรรมดา
การส่งแบบข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
การ ส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
จุด สำคัญของการส่งลูกก็คือ จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือขโมยลูกไปได้ ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่าการส่งสกิป (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น   การเลี้ยงลูก

การเลี้ยงลูกเป็นบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
เมื่อ ต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
ผู้ เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้

  การเล่นรูปแบบอื่น ๆ บาสเกตบอล ยังมีการดัดแปลงการเล่นเป็นรูปแบบอื่น ๆ โดยยังคงใช้ทักษะทางบาสเกตบอล ตลอดจนอุปกรณ์การเล่น (มักได้แก่ลูกบาสเกตบอล และห่วง) การเล่นบางรูปแบบก็เป็นการเพียงเปลี่ยนกฎอย่างผิวเผิน แต่บางอย่างก็ถือเป็นเกมคนละชนิดไปเลย ซึ่งเกมเหล่านี้มักเป็นการเล่นไม่เป็นทางการ โดยไม่มีกรรมการ และกฎข้อบังคับที่เข้มงวด
เกม ที่น่าจะพบบ่อยสุด คือการเล่นแบบ ฮาล์ฟคอร์ต (half court game) โดยใช้สนามเพียงครึ่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนการครองบอล จะต้องเคลียร์ลูก คือส่งลูกออกไปยังเส้นครึ่งสนามหรือนอกเส้นชู้ตสามคะแนนก่อนถึงจะเล่นต่อได้ การเล่นแบบนี้ใช้พละกำลังและความแกร่งน้อยกว่าเพราะไม่ต้องวิ่งตลอดความยาว สนาม การเล่นแบบนี้ยังเป็นการใช้สนามอย่างคุ้มค่าขึ้น เนื่องจากสนามบาสสนามหนึ่งสามารถเล่นพร้อมกันสองเกม เมื่อมีคนมาเล่นในสนามเป็นจำนวนมาก เจ้าของสนามอาจบังคับว่าต้องเล่นในลักษณะฮาล์ฟคอร์ต  

แชร์ 1507 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น