เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

โดแมก

โดแมก的บล๊อก

โดแมก的主頁 | ดูทั้งหมด

อักษรขอมไทย

2011-06-20 09:41
 
 
อักษรขอมไทย

        ระหว่างปี พ.ศ. 2522 - 2523 "คนโบราณ" ได้ใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในร่มกาสาวพัตรในวันเวลา
ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่มีค่ายิ่ง
  กล่าวคือ ผมได้อุปสมบท   ณ วัดกาญจนาวาส
 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
พอถึงวันเข้าพรรษาก็ได้ย้ายไปจำพรรษา อยู่   
ณ วัดเสะ (วัดเกษม
รัตน์) ตำบลสะพานไม้แก่น ซึ่งเป็นวัดโบราณเก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ที่ "วัดเสะ" นี่เอง ที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้อักขระขอมจากคัมภีร์ใบลาน  ภายใต้การแนะนำของ "พ่อหลวงแก้ว"
รักษาการเจ้าอาวาสวัดเสะ ในขณะนั้น 

         "พ่อหลวงแก้ว" ได้แนะนำให้ผมรู้จัก ตัวหนังสือขอม   ด้วยวิธีการง่ายๆ  คือให้ศึกษาเปรียบ
เทียบโดยตรงจาก คัมภีร์ใบลาน โดยเริ่มจาก  บทสวด คำนมัสการ ,บทสวดพระไตรสรณาคม  ศีล
แปด พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ  ซึ่งบทสวดทั้งหมดนี้
 
ชาวพุทธทุกคน ล้วนจำได้และ
ท่องขึ้นใจอยู่แล้ว  และโดยเฉพาะผู้ที่เป็นพระภิกษุด้วยแล้ว
   การสวดธรรมวัตรเช้าและ  
ธรรมวัตร
เย็นในทุกวัน จะต้องเริ่มจากบทสวดเหล่านี้  " พ่อหลวงแก้ว"  ได้นำผูกคัมภีร์ที่เขียนเป็นภาษาขอม
มาให้ผม   พร้อมบอกให้ทราบว่าตอนไหน คือ บทสวดคำนมัสการ 
  ตอนไหนคือ บทสวดพระไตร
สรณาคม ฯลฯ แล้วให้แยกแยะตัวอักขระขอมเอาเอง โดยเทียบเคียงจากอักษรไทยปัจจุบัน

           ขั้นตอนการ "แกะ" ตัวอักขระภาษาขอมตามคำแนะนำของ " พ่อหลวงแก้ว"   ต้องใช้เวลา
นานหลายวัน จึงจะคัดลอกและแยกแยะได้    พอ"แกะ"ได้ครบ " พ่อหลวงแก้ว"
 
จึงได้แนะนำให้รู้
ถึง ตัวอักขระ และเชิงของตัวอักขระ พร้อมยังได้ย้ำเตือนผมอยู่ตลอดว่า  อย่าเข้าใจว่าอักขระขอม
นี้ เป็นภาษาเขมร
   เพราะอักขระที่เรียนนี้ เขาเรียกว่า "ขอมไทย"   
 เป็นจารึกของคนไทยรุ่นก่อน
ของปู่ย่าตายายที่สั่งสอนต่อกันมา  หนังสือสำคัญ
 ตำราของคนไทยสมัยก่อน 
ล้วนแล้วเขียนเป็น
ตัวหนังสือขอมไทย ที่นำไปให้คนเขมรอ่านจะไม่มีทางอ่านและเข้าใจได้
  
ดังนั้น หากคนรุ่นเราไม่
สืบทอดเรียนรู้การเขียนอ่านอักขระนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าละทิ้งหนังสือของคนรุ่นก่อน มองข้ามภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษ  ซึ่ง " พ่อหลวงแก้ว" บอกว่า ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น

           ผมรับปาก " พ่อหลวงแก้ว" และตั้งแต่วันนั้น  หากมีเวลา  ผมก็จะค้นคว้าและพยายามแกะ
รอยอักขระขอม โดยเฉพาะหนังสือขอมที่ทวดได้เขียนไว้ในหนังสือบุด  ทั้งนี้ก็เพื่อสืบทอดแนวคิด
ของ "พ่อหลวงแก้ว" ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างอดีตกับปัจจุบันและอนาคต 
 
 จากวันนั้นจนถึง พ.ศ.นี้
แม้เวลาจะล่วงเลยไปเกือบ 30 ปี    ผมเองยังศึกษาได้ไม่ถึงไหน   หนังสือบุดของทวดบนหิ้ง
ก็ยัง
อ่านได้ไม่หมด  หลายๆหน้ายังไม่ทราบถึงเนื้อหาใจความที่ทวดเขียน ประกอบกับ
" พ่อหลวงแก้ว"
ผู้เป็นครู ที่พอจะให้ปรึกษา ท่านก็ได้มรณภาพจากโลกนี้ไปแล้ว

          อย่างไรก็ตาม  แม้ภูมิรู้ที่มีจะน้อยนิด แต่เพื่อสืบทอดแนวคิดของ" พ่อหลวงแก้ว" ผมจึงได้
ขวนขวายค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารที่พอจะหาได้ 
 
 มาเป็นเครื่องมือในการแกะรอยและทำความ
เข้าใจเนื้อหาสาระในหนังสือของทวดเล่มนั้น ให้จงได้ 

           ต่อไปนี้คือ ตัวอย่าง(บางหน้า)ของ  ตำราเรียนอักษรขอมด้วยตนเอง   ที่ขอนำเสนอไว้
 ณ ที่นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเบื้องต้น แก่ท่านทั้งหลายที่สนใจ 

 
 
แชร์ 5557 ดู | 0 ความเห็น

ความเห็น