เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

รัชนี

รัชนี的บล๊อก

รัชนี的主頁 | ดูทั้งหมด

มาทำความรู้จักกับ...หัวกลอยกันเถอะ..!!

2009-10-14 11:24
 
 

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
.....

 

 คิดถึงพี่หน่อย..นะกลอยใจพี่ ห่างกันอย่างนี้  น้องคิดถึงพี่..บ้างไหม?

ก่อนอยู่บ้านนาเขาเรียกเธอว่า อ กลอย
พออยู่กรุงเทพมีผ นายร้อยเปลี่ยนจากกลอยมาเป็นแรมจันทร์...

 

                  รู้สึกว่าพอเอ่ยชื่อ"กลอย" คงจะคุ้นๆหูกันแทบทุกคนใช่ไหมคะ? อย่างน้อยก็อยู่ในเนื้อเพลงหลายคนเคยร้องติดปาก .........มาหลายสมัยเหมือนกัน...

                           คลิ๊กที่ภาพ

                  กลอย ...เป็น...
พืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน มีคนนิยมบริโภคกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านแบ่งประเภทของกลอยตามลักษณะของลำต้นและ ตามสีในเนื้อหัวกลอยคือ กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว
ส่วนกลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อนำหัวกลอยมาปอก เปลือกและหั่นเป็นแว่นบาง ๆ พบว่ากลอยข้าวเจ้ามีเนื้อสีขาวนวลและ เนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว ซึ่งมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าว เหนียวมากกว่า.........................................................

กลอยทั้งสองมีพิษพอๆกันใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้แต่ต้องระวังในการใช้
ชาวบ้านนิยมทาน หันฝอยบางๆ แล้วหมัก ไม่รู้เขาหมักไว้กี่วัน จากนั้นก็ปั้นเป็นก้อนกลมๆ เอามานึ่ง เวลาจะทานก็ขูดมะพร้าวโรยหน้าแล้วเอาน้ำตาลกับเกลือโรยลงไปเล็กน้อย อร่อยดีเหมือนกัน แต่ถ้านึ่งไม่สุก ก็เป็นอันตรายเหมือนกันทำให้เวียนศรีษะได้

 
คลิ๊กที่ภาพ

ในหัวกลอยจะมีแป้งมากและมีสารพิษที่ชื่อว่าไดออสคอรีน (Dioscorine) สามารถละลายน้ำได้ดี พิษชนิดนี้จะมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้เกิดอัมพาตหรือหยุดหายใจได้ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนและความ ต้านทานของแต่ละคน อาการที่ที่พบได้บ่อยได้แก่ คันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด และเป็นลม ทั้งนี้ปริมาณสารพิษในหัวกลอยแต่ละฤดูกาลจะแตกต่างกัน จากการทดลองเปรียบเทียบพิษของกลอยที่ขุดมาแต่ละฤดูพบว่า ในเดือนสิงหาคมจะมีปริมาณสารพิษสูงที่สุด ซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเชื่อกันว่ากลอยจะมีพิษสูงสุดตอนที่มีดอก กลิ่นดอกกลอยจะหอมไปทั้งป่า ส่วนในช่วงฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายนกลอยจะพิษน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามหากประชาชนนำกลอยมาบริโภคดิบๆ หรือนำมาบริโภคโดยที่ยังเอาสารพิษออกไม่หมดอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ "ในการนำกลอยมาประกอบอาหารจะต้องทำอย่างถูกวิธี โดยต้องใช้ผู้ ชำนาญกำจัดสารพิษออกให้หมด
หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าการหักเมา นิยมทำ 2 วิธี คือปอกเปลือกทิ้งแล้ว หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่ในภาชนะโปร่ง
เช่น ถุงตาข่ายแล้วนำไปแช่ในน้ำไหลประมาณ 3-7 วัน เพื่อให้พิษละลายออกไปแล้วจึงนำมาประกอบอาหาร
ส่วนวิธีที่ 2 อาจใช้หมักกับน้ำเกลือประมาณ 3 วัน ระหว่างนี้ให้เปลี่ยน น้ำเกลือหลายๆครั้งจึงจะนำมาบริโภคได้
(ควรแช่ 4วันเปลี่ยนน้ำทุกวัน ตอนเปลี่ยนน้ำเกลือให้บีบคั้นน้ำขาวๆออกด้วย)

                             คลิกฟังเพลงคิดถึงพี่หน่อย  http://charyen.com/jukebox/play.php?id=4273

                              คลิกฟังเพลงคิดถึงพี่ไหม    http://charyen.com/jukebox/play.php?id=20305

                                                                                                 

ขอบคุณที่มาข้อมูลpcog.pharmacy.psu.ac.th/thi/article1-51.asp -

แชร์ 2151 ดู | 1 ความเห็น

Footprints

ความเห็น

  • thejeekung
    เกยกิ๋นคับ บ้านผมฮ้องว่า ก๋อย อิอิ ลำคับ
    แต่บ่เกยสังเกตเหมือนกั๋นว่ากิ๋นแล้วเป๋นจะได เพราะกิ๋นบ่นักครับ