เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

thejeekung

thejeekung的บล๊อก

thejeekung的主頁 | ดูทั้งหมด

แจกพระไตรปิฏกและอรรถกถาฉบับสำหรับประชาชน

2010-10-04 02:06
 
 
แจกพระไตรปิฏกฉบับสำหรับประชาชน 
และคัมภีร์อรรถกถาแปล ฟรี!!
 
ดาวน์โหลดที่นี่ครับ
 
1. แนะนำเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
    เรียบเรียงโดย อาจารย์ ดร. บุณย์  นิลเกษ
   ดร.บุณย? นิลเกษ M.A. (SANTINIKETAN), M.A. (VARANASI), PH.D. (DELHI)
 
2. พระวินัยปิฎก (8 เล่ม)
 
3. พระสุตตันตปิฎก (25 เล่ม)
 
4. พระอภิธรรมปิฎก  (12 เล่ม)

    ( คัมภีร์อรรถกถาภาษาไทย ) 
    ฉบับเรียบเรียงโดย อาจารย์ ดร.บุณย์ นิลเกษ
 
 
อาจ๋ารย์ ดร. บุณย์ นิลเกษ 
เปิ้นบอกหื้อเอามาเผยแพร่เป๋นธรรมทานครับ
เผื่อมีคนสนใจ๋ดาวน์โหลดไปอ่าน ไปค้นคว้าได้ครับ
 
 -------------------------------------------------
คำปรารภของผู้เรียบเรียง

ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งกาสาวพัสตร์และสันติภาพ  ตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมาเกือบหนึ่งพันปี 
เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมวิถีชีวิตแห่งความร่มเย็นเป็นสุขให้กับประชาชนตลอดมา  
ดังที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน       

เมื่อปี ๒๕๒๕  องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้มีมติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสันติภาพโลก
เนื่องจากประชาคมโลกได้เห็นพฤติกรรมแห่งมนุษยธรรมเชิงปฏิบัติแห่งชาวพุทธไทย  อาทิ 
สามัคคีธรรม และ เมตตาธรรม  เป็นต้น  ทั้งหมดนี้เกิดจากการเป็นชาวพุทธที่ดีของไทยตลอดมา

ในสมัยรัชกาลที่ ๕  พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานชัดเจน เพื่อให้พระพุทธศาสนามั่นคงและเผยแผ่ไป
ทั่วโลก  โดยการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีด้วยอักษรไทย และพระราชทานไว้ทั่วโลก  
รวมทั้งพระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง  คือ (๑)  มหามกุฎราชวิทยาลัย และ 
(๒)  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ปัจจุบันนี้  ทั้งสองแห่งมีสาขาที่ดำเนินการเรียนการสอนกระดับปริญญาตรีแก่พระสงฆ์และคฤหัสถ์
ทั่วประเทศ มากกว่า ๖๐ แห่ง  ระดับปริญญาโท เกือบ ๒๐ แห่ง และ ปริญญาเอก ๕ แห่ง  
มีผู้เรียนจบ ป.ตรี ปีละเกือบหมื่นกว่าคน  อนึ่ง  มหาวิทยาลัยสงฆ์  ทั้งสองแห่งได้ถือว่า
คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา (คำอธิบาย)  รวมทั้งคัมภีร์อื่น ๆ  เป็นเนื้อหาหลัก หรือเป็นวิชาเอก
ที่นิสิตและนักศึกษา ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ต้องศึกษาเป็นวิชาบังคับตลอด ๔ ปี  รวมทั้งระดับ
ปริญญาโท และเอก  จึงจัดให้มี โครงการจัดพิมพ์ “คู่มือพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน” 
(คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาไทย)  และจัดพิมพ์ในปี ๒๕๕๗  เนื่องในโอกาสฉลองสมโภช 
๓๐ ปี ม.จ.ร. เชียงใหม่


วัตถุประสงค์

เนื่องจากผู้จัดทำโครงการนี้ได้ดำเนินการจัดทำและจัดพิมพ์ “พระไตรปิฎกภาษาไทยสำหรับประชาชน”
ด้วยภาษาไทยยุคปัจจุบัน  ทั้งได้เผยแพร่ไปแล้วทั้ง ๔๕ เล่ม เกือบ ๑๐๐ ชุด มาก่อน แล้วจึงตั้ง
ความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการจัดทำโครงการนี้  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้:

๑.  เพื่อจัดการเรียบเรียงภาษาเดิมให้เป็นภาษาปัจจุบันให้มากที่สุด
๒.  เพื่อจัดทำให้มีวรรคตอนน่าอ่าน หรือ สะดวกแก่การอ่านมากยิ่งขึ้น
๓.  เพื่อให้ผู้ศึกษา หรือผู้สนใจมีหนังสือระดับอรรถกถาที่น่าอ่านในยุคปัจจุบัน
๔.  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางศรัทธาปสาทะ และสติปัญญาระดับสูงต่อไป
๕  เพื่อให้งานทางวิชาการชุดนี้แพร่หลายและเป็นมรดกธรรมอยู่ในโลกนี้ต่อไป  ชั่วกาลนาน

วิธีดำเนินการ

๑.  โครงการจัดทำ “คู่มือพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน” หรือ “คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก
ภาษาไทย” ครั้งนี้  ผู้จัดทำได้ยึดเอา “คัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล” ฉบับสมโภช
กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี เป็นหลัก  ซึ่งจัดพิมพ์และเผยแพร่ในปี ๒๕๒๕  
โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย  ทั้งหมดจำนวน ๙๑ เล่ม  ขณะเดียวกันก็อาศัยฉบับมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ 
และ ฉบับภาษาบาลีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบการเรียบเรียงเพื่อความชัดเจนมากขึ้น

๒.  การจัดทำรูปเล่มนั้น  โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการแยกพิมพ์เฉพาะอรรถกถาอย่างเดียว 
และจัดทำเป็นรูปเล่มด้วยกระดาษ B5  และอักษรเช่นเดียวกับพระไตรปิฎกชุดที่ทำแล้ว  
โดยการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งการพิสูจน์อักษรให้สมบูรณ์  
อนึ่ง  ต้นฉบับต้องเป็น ๒ คอลัมน์ ตามวรรคตอนที่กำหนด  พร้อมทั้งเก็บต้นฉบับไว้ด้วยแผ่นซีดี 

๓.  การเรียบเรียงต้นฉบับ อยู่ในรูปประโยค Atomic Theory (ประโยคเชิงเดี่ยว) ตามแนวปรัชญา
 Logical positivism ตามความเหมาะสมเท่าที่จะทำได้  ขณะเดียวกัน   ก็จัดทำให้มีวรรคและตอน
กะทัดรัดเป็น ๒ คอลัมน์ ทุกหน้า เพื่อการพักสายตาและสะดวกแก่การอ่านเนื้อหา ทั้งง่ายต่อการเข้าใจ
ทั้งนี้  รูปเล่มของหนังสือใช้ระบบสากลเป็นหลัก  เช่น  คำนำ สารบัญ เนื้อหา ดรรชนี และหมวดธรรม ทั้งหมด

โดยธรรมชาตินั้น  เราจะเห็นว่าการสลายของภูเขาย่อมปรากฏที่ยอดเขาเล็ก ๆ ก่อน จึงค่อยพังลง 
ทำนองเดียวกัน  ยอดเขาและต้นกระแสน้ำย่อมเปรียบเหมือนศาสน    ธรรมที่ละเอียดอ่อน 
ที่เป็นความเชื่อถือและปรากฏอยู่ในจิตใจของทุกคน  หากจิตใจของพวกเขาถูกทำให้เหินห่าง 
หรือทำให้หมดความเชื่อถือในพระพุทธศาสนา จะอยู่ในลักษณะใดก็ตาม หากความมั่นคงของศาสนา
ในจิตใจถูกทำให้สั่นคลอนได้ในลักษณะใดก็ตาม  นั่นคือจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของ
พระพุทธศาสนาในอาณาจักรไทย และไม่มีทางที่จะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้  เช่นเดียวกับ
การที่เราไม่สามารถจะทำให้สภาพของแม่น้ำเจ้าพระยากลับสู่สภาพเดิมได้  ฉันใดก็ฉันนั้น  

สังคมไทยในยุคปัจจุบัน  กำลังถูกคลื่นกระแสวัฒนธรรมตะวันตกแห่งบริโภคนิยม และกระแสแห่ง
อาเซียนนิยมกระทบอย่างรุนแรงอยู่ทุกวัน  จึงทำให้เห็นว่าบ้านเมืองเราจะอยู่ในสภาพนี้ต่อไป
นานสักเท่าไหร่  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  จิตใจของชาวพุทธไทยส่วนมากได้รับผลกระทบอย่างหนัก 
และอาจจะหนักยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏจากสื่อต่าง ๆ  นั้น เปรียบเหมือนการขุดกรุหาพระเครื่อง
ตามเจดีย์สถานต่าง ๆ  ยิ่งเจอกรุมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้เจดีย์ทรุดหนัก และพังเร็วที่สุด  ฉันใดก็ฉันนั้น  
ยิ่งกว่านั้น  เราก็พบอยู่ว่าไม่มีกรุไหนที่ได้รับการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมจากพวกแสวงหาโชค
มิจฉาชีพเหล่านี้  สิ่งที่เขาได้รับคือ พระเครื่ององค์เล็ก ๆ น้อย ๆ  ไม่คุ้มค่ากับการเสียหายของ
องค์พระเจดีย์ที่ล้ำค่าในแผ่นดินโดยเฉพาะ และพระพุทธศาสนาโดยส่วนรวม อีกด้วย  
มิหนำซ้ำยังปล่อยให้สภาพนั้นเห็นปรากฏแก่สายตาอยู่ทั่วไป  สถานการณ์เช่นนี้ปรากฏอยู่ในสื่อ
แทบทุกวัน ไม่แตกต่างจากการเปิดกรุอะไรมากนัก  พระพุทธศาสนามีแต่ทรงกับทรุดตลอดเวลา
ด้วยซ้ำไป เหมือนกับเจดีย์สถานปรากฏอยู่ทั่วประเทศนั้นเอง

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เรียบเรียงและคณะผู้ร่วมงานทุกฝ่าย  เกิดแรงศรัทธาบันดาลกุศลจิตอาสา  
โครงการคู่มือพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน  โดยการอุปถัมภ์จากผู้มีจิตศรัทธาทุกฝ่าย 
ได้ตั้งมโนปณิธานอย่างแรงกล้าไว้ว่า “ขอให้หนังสือคู่มือพระไตรปิฏกศึกษาสำหรับประชาชนชุดนี้ 
มีสถานะเป็นสื่อเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงสถาพรแห่งศรัทธา ต่อพระบวรพุทธศาสนา คู่กับแผ่นดินไทย
ตลอดไปชั่วกัลปาวสาน”   

อนึ่ง  ผู้เรียบเรียงและผู้ร่วมงานทุกคนขออุทิศผลบุญจากงานวิชาการนี้ ให้เป็นกตเวทิตาคุณ ต่อ  
(๑) สำนักวัดวารินทราราม  อุบลราชธานี  
(๒) สำนักวัดอนงคาราม  กรุงเทพมหานคร  
(๓) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  
(๔) มหาวิทยาลัยวิศวภารตี  อินเดีย     
(๕) มหาวิทยาลัยพาราณสี  อินเดีย  
(๖) มหาวิทยาลัยเดลี  อินเดีย  และ  
(๗) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ผู้ให้กำเนิดชีวิตแห่งการเรียนรู้ และได้มีโอกาสได้เรียบเรียงพระไตรปิฎก (๔๕ เล่ม)  
และหนังสือคู่มือพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน (รวมทั้งหมดเกือบ ๒๐,๐๐๐ หน้า)

ขอตั้งมโนปณิธานไว้อีกว่า “หากพวกข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ  
ขอให้ได้เกิดมาเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล  สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติเพื่อทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา  
รวมทั้งสถาบันการศึกษาสงฆ์ (ม.จ.ร. และ ม,ม.ร.) จนกว่าจะหมดลมหายใจ”

ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง  สำหรับเมตตาจิตของผู้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายทุกบาท
ทุกสตางค์ ในการทำงานครั้งนี้  ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๘ (๖ ปี)  หากปราศจากผู้มีกุศลเจตนาดังกล่าว
หนังสือชุดนี้ก็ไม่มีโอกาสปรากฏในมือของท่านอย่างแน่นอน  ผู้เรียบเรียงและผู้ร่วมงานทุกท่านถือว่า
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทวยเทพบันดาลให้เกิดขันติธรรมและวิริยะธรรมมากยิ่งขึ้น  
หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏเป็นความบกพร่องในงานนี้  ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียว 
และขอมอบกุศลผลบุญจากงานนี้ให้แก่ทุกท่านผู้มีส่วนสนับสนุนก็ตามหรือไม่ก็ตาม  
ขอให้ได้รับกุศลผลบุญโดยเท่าเทียมกัน

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณอย่างสูงอีกครั้งหนึ่งสำหรับผู้มีนามปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ทุกท่าน 
และขอขอบคุณ คุณสุภาพร  นิลเกษ และ คุณสุภาพงษ์  นิลเกษ  รวมทั้งญาติสนิทมิตรสหายทุกท่าน 
ที่ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมา  

 
รองศาสตราจารย์ ดร. บุณย์ นิลเกษ (Boon Nilaket)

ชีวประวัติผู้เรียบเรียง

ถิ่นกำเนิด

ดร.บุณย์  นิลเกษ  ถือกำเนิดที่บ้านดอนกลาง  หมู่ที่ 13  ตำบลธาตุ  อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ถิ่นปัจจุบัน และที่ทำงาน  เลขที่  ๑๔๑  หมู่ที่ ๓  ตำบลสันทรายน้อย  อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๑๐ โทร. (๐๕๓) ๔๙๒ ๔๐๐

วัน เดือน ปีเกิด  : วันศุกร์ที่  ๖  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๔๘๑

การศึกษาเบื้องต้น

เปรียญธรรม ๕ ประโยค และนักธรรมชั้นเอก สำนักวัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร 
เตรียมอุดมศึกษา และประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การศึกษาระดับปริญญา

พ.ศ. ๒๕๐๘ ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๑ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยวิศวภารตี สันตินิเกตัน  อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๒ ประกาศนียบัตรชั้นสูงสาขาวิชาปรัชญาและศาสนาอินเดีย  มหาวิทยาลัยพาราณสี อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๓ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยพาราณสี  อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๗ ประกาศนียบัตรการศึกษาเกี่ยวกับ องค์การสหประชาชาติ  สถาบันการศึกษาเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ นิวเดลลี  อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๘ ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยเดลี  อินเดีย

ตำแหน่งและหน้าที่

พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นอาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์  ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นรองศาสตราจารย์  ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานทางวิชาการ

งานเกี่ยวกับการเรียบเรียงพระไตรปิฎกและอรรถกถา

(๑)  ผู้เรียบเรียงและจัดพิมพ์ ครั้งที่หนึ่ง  พ.ศ. ๒๕๕๐  พระไตรปิฎกภาษาไทยสำหรับประชาชน ๔๕ เล่ม  จำนวนประมาณ ๑๓, ๐๐๐ หน้า  

(๒)  ผู้เรียบเรียงและจัดพิมพ์  ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๕๗  คู่มือพระไตรปิฎกศึกษาสำหรับประชาชน (อรรถกถาพระไตรปิฎก)  จำนวน ๒๑ เล่ม ทั้งหมดจำนวนประมาณ ๑๐,๐๐๐  หน้า
งานวิจัยเกี่ยวกับพระไตรปิฎกและอรรถกถา

(๑)   ประจักษ์พยานตายแล้วเกิด : การเชิญวิญญาณเข้าทรง  
(๒) ประจักษ์พยานตายแล้วเกิด : ตอนการจำชาติได้  
(๓) ประจักษ์พยานตายแล้วเกิด : พระไตรปิฎกศึกษา  
(๔) มหายานเข้าสู่ประเทศไทย (๒ เล่ม)  
(๕) ปรากฏการณ์พญานาค  
(๖) ปรากฏการณ์เชิงเมตาฟิสิกส์กับชีวิตประจำวัน (กำลังดำเนินการ)

งานตำราและเอกสารวิชาการ 

สายปรัชญา ศาสนา

(๑) ปรัชญาตะวันตกยุคใหม่  
(๒) ปรัชญาเบื้องต้น  
(๓) สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น   
(๔) ปรัชญาตะวันตกยุคร่วมสมัย  
(๕) ปรัชญาศาสนา  
(๖) ศาสนาเบื้องต้น   
(๗) ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ชั้นสูง  
(๘) ธรรมิกนิยม และ มาร์คนิยม  
(๙) พราหมณ์ พุทธ ฮินดู  
(๑๐) ดินแดนภารตะ...อินเดียในอดีต  
(๑๑) เมตาฟิสิกส์เบื้องต้น  
(๑๒) คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ (๒ เล่ม) 
(๑๓) จักรวาลลี้ลับ

สายพุทธศาสนา

(๑) พุทธศาสนามหายาน  
(๒) ประวัติพุทธศาสนา  
(๓) อุดมการณ์ชีวิตแบบโพธิสัตว์ (ชุดละ ๑๒ เล่ม)  
(๔) กฎแห่งกรรมตายแล้วเกิด (ชุดละ ๗ เล่ม)  
(๕) ปฐมสมโพธิกถา (ชุดละ ๖ เล่ม)  
(๖) อภิมธัมมัตถวิภาวินี  (ชุดละ ๒ เล่ม)  
(๗) มงคลทีปนี (ชุดละ ๖ เล่ม)  
(๘) อภิธัมมัตถสังคหะ  
(๙) อภิมธัมมัตถวิภาวินี (ชุดละ ๒ เล่ม)  
(๑๐) คู่มือการสอนวิชาธรรมะสำหรับครูพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ชุดละ ๖ เล่ม)   
(๑๑) ชีวิตแห่งความหมาย  
(๑๒) สารัตถสังคหะสำหรับประชาชน  
(๑๓) พุทธศาสนาสำหรับประชาชน  
(๑๔) คัมภีร์สิงหปกรณ์   
(๑๕) พุทธศาสนากับสันติภาพ  
(๑๖)  คู่มือปรัชญาพุทธศาสนาสำหรับผู้สนใจ  
(๑๗)  คัมภีร์สัจจสังเขป  
(๑๘)  AN INTRODUCTION TO BUDDHIST MEDITATION  
(๑๙)  SELF IS NOT AND WHAT IS SELF  
(๒๐)  คัมภีร์มาลัยสูตรสำหรับประชาชน (กำลังดำเนินการ)

ประวัติการทำงานเพื่อสังคม  พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๕๖

-  เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา วัดทุ่งศรีเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี
-  เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดอุบลราชธานี 
จำนวน ๑๕ แห่ง
-  เป็นผู้ประสานงานการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์   จังหวัดเชียงใหม่ 
และภาคเหนือทั้งหมด  จำนวน ๓๕๐ แห่ง
-  เป็นกรรมการและเลขานุการ  ผู้ประสานงานการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 
ในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๖๐ รอบ  ทั่วประเทศ  จำนวน ๖๐ แห่ง
-  เป็นกรรมการผู้ประสานงานการประชุมและการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งประเทศไทย (จำนวน ๖๐๐ วัด) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  พิษณุโลก 
-  เป็นกรรมการผู้ประสานงานศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ภาคเหนือ
-  เป็นกรรมการศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งประเทศไทย
-  เป็นวิทยากรประจำวิชาประชาธิปไตย  กองอำนวยการความมั่นคงภายใน  กระทรวงกลาโหม
-  เป็นเลขานุการกลุ่มธรรมิกนิยม  ประเทศไทย
-  เป็นกรรมการและอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่
-  เป็นประธานมูลนิธิสถานีอนามัยสมเด็จ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่   
-  เป็นประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมศูนย์พุทธธรรมหนองฮ่อจังหวัดเชียงใหม่
-  เป็นที่ปรึกษา  มูลนิธิพุทธเกษตร เชียงใหม่
-  เป็นเลขานุการสมาคมอีสาน เชียงใหม่
-  เป็นผู้บรรยายพิเศษวิชาวัฒนธรรมพุทธศาสนา  มหาวิทยาลัยพายัพ
-  เป็นผู้บรรยายพิเศษวิชาปรัชญาเบื้องต้น  สถาบันราชภัฏเชียงใหม่
-  เป็นอนุกรรมการฝ่ายกิจการต่างประเทศ  สภาผู้แทนราษฎร
-  เป็นประธานอาจารย์ที่ปรึกษา  ชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี สถาบันอุดมศึกษาทั่วราชอาณาจักร
-  เป็นประธานกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมอีสาน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-  เป็นผู้ประสานงานการอัญเชิญพระพุทธทศพลชินราช ประดิษฐาน ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(๒๕๒๘) พระพุทธชินราช ประดิษฐาน ณ วัดฝายหิน (๒๕๓๐) และ พระพุทธเทโวโรหนะ (๒๕๔๐)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-  เป็นที่ปรึกษา ชมรมแก้วสามดวง จังหวัดลำปาง
-  ประธานโครงการ ปลูกต้นโพธิ์ไทรไผ่ตง  ๒,๕๐๐  ต้น  ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานเฉลิมพระเกียรติ  ม.จ.ร. เชียงใหม่
-  ผู้ทรงคุณวุฒิหลักสูตรปริญญาโท สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
-  อาจารย์พิเศษ หลักสูตรปริญญาโท –  เอก  ม.จ.ร. วิทยาเขตเชียงใหม่
-  อาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานพิเศษของชีวิตเพื่อมหาวิทยาลัยสงฆ์  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๕๔

-  ผู้ร่วมประสานงานการจัดตั้ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ม.จ.ร.)

เขตภาคเหนือ  ได้แก่   (๑) เชียงใหม่  (๒) พะเยา  (๓) ลำพูน  (๔) ลำปาง  (๕) น่าน  
(๖) เชียงราย   (๗) ตาก  (๘)  แม่สอด  (๙) อุตรดิตถ์  (๑๐) พิจิตร  (๑๑) สุโขทัย  
(๑๒) พิษณุโลก  (๑๓) นครสวรรค์  (๑๔) อุทัยธานี  และ (๑๕)  กำแพงเพชร (วัดบรมธาตุ)

เขตภาคกลาง  ได้แก่  (๑๖) ฉะเชิงเทรา  (๑๗) ชลบุรี  (๑๘) ระยอง  (๑๙) จันทบุรี  
(๒๐) สระแก้ว  (๒๑)  ตราด  (๒๒) เพชรบุรี  (อำเภอต้นสน)  (๒๓) กาญจนบุรี  

เขตภาคใต้  ได้แก่   (๒๔) สุราษฎร์ธานี  (๒๕) หาดใหญ่  (๒๖) ปัตตานี  (๒๗) กระบี่  

เขตภาคอีสาน  ได้แก่  (๒๘) อุบลราชธานี  (๒๙) ศรีสะเกษ  (๓๐) ชัยภูมิ   (๓๑) อำนาจเจริญ  
(๓๒) มหาสารคาม  (๓๓) กาฬสินธุ์  (๓๔) สกลนคร  (๓๕) อุดรธานี  (๓๖) นครพนม

-  ผู้ร่วมประสานงานการจัดตั้ง มหามกุฎราชวิทยาลัย (ม.ม.ร.)  
(๑) เชียงใหม่  (๒) กำแพงเพชร  (วัดช้าง)  (๓)  ชลบุรี (ศรีราชา)  (๔)  เพชรบุรี (ชะอำ)
(๕) ศรีสะเกษ   (๖) หนองบัวลำภู  (๗)  สุรินทร์

หมายเหตุ  ปัจจุบันบางแห่งได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยสงฆ์ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

เกียรติคุณที่ได้รับ

-  เข็มเกียรติคุณจาก  มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
-  โล่เกียรติคุณจาก  สภาชาวพุทธแห่งประเทศไทย
-  โล่เกียรติคุณจาก  เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย
-  โล่เกียรติคุณจาก  พุทธสมาคมแห่งจังหวัดเชียงใหม่
-  โล่เกียรติคุณจาก  มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
-  โล่เกียรติคุณจาก  ศูนย์บัณฑิตศึกษา  ม.จ.ร.  วิทยาเขตเชียงใหม่
-  เข็มเกียรติคุณจาก  สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
-  เข็มเกียรติคุณจาก  สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

เกียรติคุณที่ได้รับจากการเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

-  เสมาธรรมจักร  กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
-  โล่เกียรติคุณจาก  มูลนิธิจำนงค์  ทองประเสริฐ

แชร์ 51472 ดู | 0 ความเห็น

ความเห็น