เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

thejeekung

thejeekung的บล๊อก

thejeekung的主頁 | ดูทั้งหมด

รวมฉันทลักษณ์ค่าว แผนผังค่าว (คร่าว)

2010-09-19 00:27
 
 
เทคนิควิธีการแต่งค่าว


อิ่มไหนๆ ตี้ในโลกนี้ บ่อิ่มเต้าอี้ นอนาย
อิ่มอุ่นแต๊ล้ำ ขอย้ำความหมาย เหมือนเพลงบรรยาย ขานไขบอกเจ้า
ฮักแม่นั้นหนา โนจาน้องเหน้า มีหื้อลูกเต้า คนดี
ฮักของแม่นั้น มั่นคงดีหลี ฮักไหนบ่มี ตี้จักเผียบได้ ตี้จักเผียบได้

-------------------
วันนี้มาอ่านค่าวเก่าที่แต่งไว้ประกอบเพลงอิ่มอุ่น  รู้ตัวว่าเขียนได้ไม่ค่อยเท่าไหร่
และพบว่ามีฉันทลักษณ์แปลกๆ  แต่ก็ยังพอหาที่ลงได้
เข้าใจว่าคงแต่งหลังไมค์ แบบเร่งด่วน  
รู้สึกว่ามันจะไม่ตรงกับฉันทลักษณ์ที่หลายคนเรียนมา
ยอมรับครับว่า มาถึงวันนี้ ผมจำฉันทลักษณ์ของค่าวไม่ได้ 555
เคยมีคนขอให้ไปสอนค่าวให้เด็กๆ
ผมไม่รู้ว่าจะเริ่มสอนยังไง  กลัวว่าจะสอนผิด เพราะจำฉันทลักษณ์ไม่ได้

ยังไงก็แล้วแต่  ผมพบว่ามันมีฉันทลักษณ์ในใจที่ชอบใช้อยู่เป็นประจำ

อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยบอกว่า...  "ฉันทลักษณ์ คือลักษณะที่เราพอใจ"

ผมเห็นด้วย เพราะบทกวีเป็นศิลปะ  ไม่ควรมีกรอบเกณฑ์ผูกมัดให้มากเกินไป
แต่ก็ไม่ใช่สะเปะสะปะ  เรื่อยเปื่อย
และขอแค่ให้เรารู้ว่า ... รูปแบบเดิมๆ เป็นยังไง ความคิดสร้างสรรค์เป็นยังไง

บทกวีในยุคก่อนๆ ทั้งแบบล้านนา และแบบภาคกลางไม่มีฉันทลักษณ์ที่ตายตัวแน่นอน
กลอนแปดของภาคกลาง เริ่มมีแบบฉันทลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น
เมื่อมีคนชื่นชอบการเขียนกลอนในแนวของ "สุนทรภู่"
ฉันทลักษณ์ในแบบของสุนทรภู่ ก็เลยเป็นแบบฉบับที่ใช้สอนกันต่อๆ มา

เช่นกันกับค่าว  ตามความเข้าใจของผม...
ฉันทลักษณ์ของค่าว เป็นเหมือนกระบวนท่าที่สำคัญในเชิงวรรณศิลป์
มีคนชื่นชอบรูปแบบและลีลาการประพันธ์ค่าวตามแบบของพญาพรหมโวหาร
และมีการถ่ายทอดออกมาเป็นผังฉันทลักษณ์ค่าว แตกต่างกันไป

บางครั้งผมพบว่า แม้แต่พญาพรหมโวหารเอง  ท่านก็ไม่ได้ยึดกับฉันทลักษณ์ที่ตัวเองเขียนเสมอไป
บางครั้งเราจะเห็นความพริ้วไหวของบทกวีที่พญาพรหมแต่งไว้  โดยไม่ได้สนใจเรื่องฉันทลักษณ์เลยเช่นกัน

ยังไงก็แล้วแต่  ฉันทลักษณ์เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญ
ถ้าเทียบกับวิทยายุทธ์ ก็เป็นเหมือนกระบวนท่า ที่คิดผ่านการกลั่นกรองมาแล้วอย่างดี และยาวนาน
ฉันทลักษณ์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรจำให้แม่นยำ  และควรจะลืมมันไปเสีย  เมื่อถึงเวลา...

วิธีการเรียนแต่งค่าว...จึงไม่ใช่เพียงการเรียนฉันทลักษณ์
แต่วิธีที่ได้ผลที่สุดในความเห็นของผมก็คือ การอ่านให้มาก  อ่านค่าวให้มาก
โดยเฉพาะค่าวของปรามาจารย์ทั้งหลายที่เขียนไว้ดีแล้ว
และเป็นที่ยอมรับจากนักปราชญ์และคนทั่วไปว่าสุดยอด

การอ่านค่าว ไม่ใช่อ่านแต่ตา  หรืออ่านที่ปาก แต่ต้องใช้ใจอ่าน  อ่านให้รู้สึกถึงความไพเราะของภาษา
อ่านไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเราจะพบว่า....
"คุณค่าและความไพเราะของบทกวี"  ไม่ได้อยู่เพียงแค่ "สัมผัสคำ"
แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ "สัมผัสใจ"

เดอะจิ๊กุ่ง
11-8-2555

--------------------------------------------------------


รวมฉันทลักษณ์ค่าว แผนผังค่าว (คร่าว)
 
ขออนุญาตรวบรวมหน้าต๋าฉันทลักษณ์ค่าวมาหื้อบรรดาเพื่อนๆ นักค่าวได้ศึกษากั๋นครับ
 
1. ฉันทลักษณ์ค่าว จากหนังสือค่าวร่ำ 700 ปี เมืองเชียงใหม่
    ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี-พยอมยงค์
 
 
 
2. ฉันทลักษณ์ค่าว - หนังสือลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ ของ ประคอง นิมมานเหมินท์
   สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2517
 
 
3. ฉันทลักษณ์ค่าว-ชมรมอนุรักษ์ภาษาวัฒนธรรมล้านนา
 
 
4. ฉันทลักษณ์ค่าว---แบบเรียนภาษาล้านนา - สมเจตน์ วิมลเกษม
 
 
5. ฉันทลักษณ์ค่าว-สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ
    ศาสตราจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี
 
 
6. ฉันทลักษณ์ค่าว--ตำราหัดอ่านอักษรล้านนา ค่าวสี่บทและคำจ่มของพระยาพรหมโวหาร
    ศาสตราจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี
 
แชร์ 9252 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น