เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

thejeekung

thejeekung的บล๊อก

thejeekung的主頁 | ดูทั้งหมด

สติ สมาธิ พุทธศาสนา จิตวิทยา สมถะ วิปัสสนา

2013-09-12 00:44
 
 


สติ สมาธิ พุทธศาสนา จิตวิทยา สมถะ วิปัสสนา


ผมเป็นคนหนึ่งที่สมาธิดีมาก ^^
เหมือนเลนส์กล้องที่โฟกัสดีมาก
ถ้าโฟกัสตรงไหนแล้ว จะทำให้บริเวณอื่นๆ เบลอไปหมด
ถ้าผมได้จดจ่อเรื่องใดแล้ว 
บางครั้งทำให้ผมลืมเรื่องอื่นๆ ไปเลย

เหมือนนักดนตรีที่มีสมาธิในการรับรู้เสียง
เวลาอยู่ท่ามกลางเสียงมากมายที่มีความดังระดับพอๆ กัน
จะสามารถเลือกฟังเสียงใดเสียงหนึ่งได้

สติผมก็ดี แต่เสียทีที่ไม่ค่อยต่อเนื่อง
จนทำให้บางครั้งผมหลงไปกับสมาธิมากเกินไป
อาการหลงๆ ลืมๆ หรือเบลอๆ ในบางเรื่อง
เป็นผลมาจากสติที่อ่อน

ยกตัวอย่าง เช่น บางครั้ง สมาธิจดจ่อไปที่มีข้างซ้าย
ผมใช้มือข้างซ้ายคลำหากุญแจรถตามกระเป๋าต่างๆ 
ทั้งกระเป๋าเสื้อ กางเกง ทั่วห้อง
หาตรงไหนก็ไม่เจอ ในที่สุดก็มาถึงบางอ้อว่ากุญแจอยู่มือข้างขวา

ครูบาอาจารย์สอนว่า "สติคือการรู้ตัวทั่วพร้อม"
ตอนที่ผมหากุญแจไม่เจอ เพราะผมมีสติอ่อน
คือรู้ตัวระดับหนึ่ง แต่ไม่ทั่วพร้อม
เหมือนคนขับรถที่มองด้านใดด้านหนึ่งอย่างเดียว
ไม่มองทั้งซ้าย ขวา หน้า หลัง

พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนให้มีสติมองทั้งสี่ด้าน
ที่ท่านเรียกว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
ท่านให้เรารู้ทันกาย รู้ตัวทั่วพร้อม
รู้ทันเวทนาหรือความรู้สึกต่างๆ ของตัวเอง
รู้ทันสภาวะจิตใจของตัวเอง
รู้ทันสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ว่า มันไม่เที่ยง
มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
มันเป็นความทุกข์บีบคั้น เหมือนไฟที่ร้อน
มันเป็นเพียงสภาวะของธรรมชาติที่ไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นตัวตน

ชีวิตของเราแต่ละคนเหมือนรถที่กำลังขับเคลื่อนไป
บางครั้งเราปล่อยให้รถของเราเคลื่อนไปอย่างไร้สติ
เหมือนปล่อยให้รถชนซ้ายชนขวาไปทั่ว
กว่าจะรู้ตัวก็สะบักสะบอมไปทั้งคัน

สติจึงมีความสำคัญ
สติอยู่ที่ไหน ปัญญาก็จะตามมาไม่ห่าง

ต่างจากสมาธิที่ท่านถือว่าเป็น "อุบายสงบใจ" เท่านั้น
ท่านจึงจัดการฝึกสมาธิไว้ว่าเป็น "สมถกรรมฐาน"
คือฐานแห่งความสงบ

ต่างจากการฝึกสติ ที่ท่านเรียกว่า "วิปัสสนากรรมฐาน"
ซึ่งเป็นฐานของการพัฒนาปัญญา

เป็นที่ทราบกันดีสำหรับผู้ศึกษาธรรมะว่า...
พระพุทธเจ้าไม่ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ เพราะการฝึกสมาธิ
แต่ทรงหลุดพ้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า "วิปัสสนากรรมฐาน"
ซึ่งก็คือการฝึกพัฒนาสติ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง
จนสามารถปล่อยวาง และหลุดพ้นจากความยึดมั่น
และหลุดพ้นจากความทุกข์

อยู่ดีๆ ก็มีเหตุให้ผมนึกถึงหลักธรรมเรื่องนี้อีกครั้ง

พูดได้เต็มปากเต็มคำว่าธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นศาสตร์แห่งการดับทุกข์
พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดับทุกข์

ธรรมะไม่ใช่เรื่องของคนแก่
มองในแง่จิตวิทยา พุทธธรรมเป็นยอดของจิตวิทยา
โดดเด่นในเรื่องจิตวิทยาของการดับทุกข์
ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
น่าทึ่งว่าคนเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว
สามารถคิดได้ละเอียดลึกซึ้งขนาดนี้

เคยมั้ยครับเวลานั่งภาวนา...
นั่งนานแล้วปวดมาก...
บางคนทนไม่ได้ต้องขยับแข้งขาเพื่อผ่อนคลาย
ปวดทั้งกาย ปวดทั้งใจ

แต่บางท่านสามารถควบคุมได้
เมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้นก็รู้
สักแต่ว่ารู้ว่ามันปวด ไม่มีคิดปรุงแต่งเพิ่มไปกว่านั้น
ไม่ติด ไม่ยึดกับอาการปวดนั้น
ทำให้ปวดแต่กาย แต่ไม่ปวดที่ใจ
ทุกข์แต่กาย แต่ไม่ทุกข์ที่ใจ

สติ และสมาธิ จัดเป็นทักษะทางจิต (Mental Skill) อย่างหนึ่ง
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝน

สิ่งที่ผมเอามาบรรยายวันนี้...
บางท่านอาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ 
แต่บางท่านอาจจะเข้าใจได้ดี

อยู่คนเดียวก็พิจารณาธรรมครับท่าน
หวังว่าเมื่อทุกท่านอ่านแล้วจะได้เกิดความง่วง
และนอนหลับฝันดีนะครับ

คืนนี้ผมคงไม่ทำงานต่อแล้วครับ 
อาบน้ำ...พักผ่อนดีกว่า
พรุ่งนี้เจอกันใหม่ครับ 

กุ่ง

๑๑ กันยายน ๒๕๕๖
แชร์ 1167 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น