เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

thejeekung

thejeekung的บล๊อก

thejeekung的主頁 | ดูทั้งหมด

สะพานนวรัฐ เชียงใหม่

2013-06-19 11:47
 
 

สะพานนวรัฐ เชียงใหม่

ขัวนวรัฐ หรือ สะพานนวรัฐ  ชื่อนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์สุดท้าย 
เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกที่ทำด้วยไม้สัก ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2433 ปัจจุบันได้รับการสร้างใหม่
ให้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2510  

กล่าวกันว่าสะพานนวรัฐ เป็นสะพานไม้ข้ามแม่น้ำปิงสะพานที่ 2 โดยสะพานแรก คือ สะพานไม้ที่ข้าม
ระหว่างตลาดต้นลำไยกับวัดเกตการาม หรือ "สะพานจันทร์สม"

สะพานนวรัฐแห่งที่ 1 ซึ่งสร้างด้วยไม้สักนี้ถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน ต่อมาในฤดูน้ำหลากถูกซุงไม้สัก
จำนวนมากกระแทกพังเสียหาย ประกอบกับในช่วงเวลานั้นได้มีการสร้างทางรถไฟขึ้นมาถึงเชียงใหม่ 
ทางราชการจึงได้รื้อออกแล้วสร้างเป็นสะพานนวรัฐแห่งที่ 2 ขึ้นมา โดยในปี พ.ศ. 2464 มีการรื้อสะพานไม้เดิม
แล้วสร้างสะพานเหล็กขึ้นแทน สะพานเหล็กสร้างเสร็จและเริ่มใช้งานในปี พ.ศ. 2466

สะพานนวรัฐแห่งที่ 2 นี้ใช้ชื่อว่า ?สะพานนวรัฐ? เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น 
สะพานแห่งนี้เป็นสะพานโครงเหล็ก สร้างบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนบนเป็นโครงเหล็กล้วนมี 5 ช่วง
สร้างโดย มาควิส กัมเบียโซ่ วิศวกรชาวอิตาเลียน โดยโครงเหล็กทั้งหมดส่งมาจากบริษัทคลิฟแลนด์ ประเทศอังกฤษ

ในยุคที่สร้างสะพานนวรัฐแห่งที่ 2 หรือ ?ขัวเหล็ก? ได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว สะพานแห่งนี้
รับใช้ชาวเชียงใหม่ได้ 45 ปี เมื่อชียงใหม่มีความเจริญขึ้น ยวดยานพาหนะก็มีจำนวนมากขึ้นด้วย สะพานซึ่ง
สร้างมานานเริ่มมีความคับแคบ (กว้าง 5.2 เมตร ยาว 200 เมตร ) ไม่เหมาะสมกับสภาพการจราจรในสมัยนั้น
ทางการจึงได้รื้อ ?ขัวเหล็ก? ออกแล้วสร้างสะพานนวรัฐแห่งที่ 3 ขึ้นซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กัน
ในปัจจุบัน (ขนาดความกว้างทางจราจร 12 เมตร รับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 10 ตัน ) โดยได้รื้อสะพานเหล็ก 
ในปี พ.ศ. 2510 แล้วก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นแทน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.google.co.th/สะพานนวรัฐ
http://muslimchiangmai.net/index.php?topic=3533.0
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tuk-tukatkorat&month=02-2011&date=20&group=31&gblog=9
แชร์ 2526 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น