เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

thejeekung

thejeekung的บล๊อก

thejeekung的主頁 | ดูทั้งหมด

จากคุ้มเจ้า สู่เรือนจำ และสวนสาธารณะ

2012-10-15 11:04
 
 


คุ้มหลวงเวียงแก้ว เป็นคุ้มหลวงแห่งนครล้านนา ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 

สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ[1] ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวถูกปรับสภาพเป็นคุก ในสมัยพระยานริศราชกิจ 

(สาย โชติกเสถียร) จนกระทั่งกลายเป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ในปัจจุบัน

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2529 ได้เริ่มมีแนวคิดในการปรับพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นสวนสาธารณะ 

เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวง (พระราชวัง) ของนครล้านนา 

ต่อมาปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ย้ายทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ไปตั้งอยู่นอกเมือง 

และให้ใช้พื้นที่เดิมนี้ สร้างเป็นพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย 

กระทั่งในปีพ.ศ. 2544 เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้ขออนุญาตเข้ามาดำเนินการ[2]


ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/คุ้มหลวงเวียงแก้ว


--------------------------------------------------------------


จากคุ้มหลวงแห่งล้านนา สู่เรือนจำ และสวนสาธารณะ

ภาพจำลองข่วงหลวงในจินตนาการของ สล่าธนกร ไชยจินดา 
แสดงให้เห็นถึงสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยต้นไม้สายพันธุ์ท้องถิ่นล้านนา 
ซึ่งเติบโตแผ่กิ่งก้านให้ร่มเงาแก่ทางเดินในสวนสาธารณะที่กำลังจะสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยมีเวียงแก้วเป็นประธานอยู่กลางภาพ 
อันเวียงแก้วนี้หากได้สร้างก็จะเป็นเสมือนขวัญและกำลังใจของชาวเชียงใหม่
อีกอย่างหนึ่ง เพราะในอดีตมันเคยทำหน้าที่นี้มาก่อน

คนเชียงใหม่บางคนอาจไม่ทราบว่า บริเวณทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 
ในอดีตเคยเป็นเขตวังเก่ามาก่อน แต่ถูกทุบทิ้งแล้วสร้างคุกขึ้นมาแทนที่ 
ใต้พื้นดินตรงนั้นจึงมีประวัติศาสตร์มากมายถูกทับไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา 
ชาวเมืองบางส่วนได้มีการเรียกร้องให้ย้ายสิ่งปลูกสร้างบางอย่างออกไปอยู่นอกเมือง 
เช่น ค่ายทหาร สนามบิน และ คุก ด้วยเหตุที่เมืองเริ่มแออัดยัดเยียด 
แล้วปรับสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สมกับเป็นเมืองเก่าแก่ 
และเมืองท่องเที่ยวที่มีศิลปวัฒนธรรมสืบทอดมาอย่างยาวนาน 

โดยเฉพาะ โครงการทำคุกให้เป็นสวนของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่มีมติออกมาเป็นเอกฉันท์แล้ว 
ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงจากคุกให้เป็นสวน โดยมี อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง 
ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการรับฟังความคิดเห็น 
?โครงการนี้เป็นโครงการของเทศบาลครับ 
ความเป็นมาคือว่ามีนักวิชาการส่วนหนึ่งอ่านประวัติศาสตร์แล้วก็พบว่า 
ก่อนเป็นคุก เดิมเป็นที่ตั้งของพระราชวัง ซึ่งในภาคเหนือมีอยู่ที่ ลำพูน ลำปาง และ เชียงใหม่ 
เพราะตอนที่สยามเข้าครองล้านนา ได้ใช้นโยบายเปลี่ยนวังให้เป็นคุกไปเสีย

ในขณะนั้นได้มีการคุยกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงเมือง การโยกย้ายสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ควรจะอยู่ในเมือง
เช่น คุก สนามบิน สวนสัตว์ พวกผมตอนนั้นได้เสนอรัฐบาลคุณทักษิณ ให้ย้ายคุกออกไป 
เพราะนับวันนักโทษจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถานที่ใหม่คือหน้าศาลากลางจังหวัด 
ย้ายไปเพราะว่าใกล้ศาล นักโทษไม่สามารถแหกคุกได้ง่าย แต่ปริมาณนักโทษก็เพิ่มขึ้นอีก 
เลยคิดกันว่าจะย้ายไปแม่แตงดีกว่า อาณาบริเวณกว้างขวางมาก 

ความจริงโครงการนี้เขียนมานานมาก แล้ว แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 
และทางเทศบาลก็อยากถามความเห็นของประชาชนก่อน เขาก็เลยตั้งกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด 
ผมเป็นประธานกรรมการรับฟังความเห็นและก็จัดให้มีรายการเสวนาขึ้นมาเพื่อถามความเห็นของประชาชน 
ชวนคนมาเป็นกรรมการ 10 กว่าท่าน จัดรายการให้คนมีส่วนร่วมฟัง พูดคุยแนะนำ เสวนาอภิปรายบนเวที 
จัดรายการให้ผู้เฒ่าผู้แก่มาเล่าเรื่องในอดีตของสถานที่แห่งนี้? 

สิ่งที่อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง ได้เกริ่นมาข้างต้น ได้ถูกสรุปออกมาเป็นเอกสาร 
เพื่อยื่นเสนอต่อนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่คนใหม่ ซึ่ง COMPASS 
ขออนุญาตนำข้อสรุปนี้มาลงเพื่อชาวเชียงใหม่จะได้รับทราบโดยทั่วหน้ากันว่า 
อีกไม่นานพวกเราจะได้สวนกลางเมืองขนาดใหญ่ แต่จะมีหน้าตาแบบใดก็คงต้องรอให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป 
ตอนนี้ช่วยกันดีใจและฝันไปก่อน ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ พ.ศ. 2532 
ให้ย้ายทัณฑสถานหญิงไปอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ แล้วให้นำพื้นที่เดิมของทัณฑสถานหญิงที่มีพื้นที่ 17 ไร่ 
มาทำเป็นพื้นที่อนุรักษณ์เพื่อส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมไทย 

ซึ่งต่อมาเทศบาทนครเชียงใหม่ได้ขอนำมาทำเป็นสวนสาธารณะกลางเมืองเมื่อปี พ.ศ.2544 
และได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว จากมติดังกล่าวทำให้มีการ 
ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามโครงการปรับปรุง 
พื้นที่ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่เดิม ให้เป็นสวนสาธารณะ และได้จัดการประชุมรวมทั้งหมด 5 ครั้ง 
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา และมีการเสวนาทางวิชาการ 2 ครั้ง 
การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวม 3 ครั้ง 
รวมถึงการขอรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทางวิทยุและอินเตอร์เน็ตหลายครั้ง 
ซึ่งจากการรวบรวมผลการประชุมทั้งหมด คณะอนุกรรมการฯ ได้พบว่า 
ความคิดเห็นอันหลากหลายเหล่านั้นสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มความคิด ดังนี้ 

กลุ่มที่หนึ่ง เป็นกลุ่มที่มองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ 700 ปีเศษของเมืองเชียงใหม่ 
โดยเห็นว่าเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สำคัญกลางเมืองเชียงใหม่ 
นั่นคือเป็นพื้นที่คุ้มหลวงของกษัตริย์ราชวงศ์มังรายเรื่อยมาจนถึงยุคพระเจ้ากาวิละ
นับเป็นเวลา 500 ปีเศษ (พ.ศ. 7839-2360) อาคารต่างๆ ได้ถูกรื้อทิ้งไป 
และพื้นที่ดังกล่าวเพิ่งถูกเปลี่ยนเป็นคุกในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือราว 100 ปีที่แล้ว 
จึงเสนอให้รื้อคุกออกเพื่อฟื้นคืนความเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และ พื้นที่ประวัติศาสตร์กลางเมือง 
เปลี่ยนพื้นที่คุกในปัจจุบันให้เป็นพื้นที่ข่วงหลวง รื้อฟื้นพื้นที่กลางเมืองให้เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอีกครั้ง 
เพื่อเป็นการปลุกขวัญและสร้างสำนึกของเมืองร่วมกันของประชาชน 
เพื่อให้สมกับคำที่ยกย่องเมืองเชียงใหม่ตลอดมาว่า 
เป็นเมืองประวัติศาสตร์ และศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา 

กลุ่มที่สอง มองประวัติศาสตร์ระยะสั้นคือในช่วง 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ยึดหลักพิพิธภัณฑ์นิยม 
และมีมุมมองว่าควรมีการหารายได้จากพื้นที่ กลุ่มนี้มีความเห็นว่าคุกดังกล่าว 
(ได้แก่กำแพงคุกและอาคารตึกสำหรับคุมขังนักโทษ) ที่สร้างขึ้นเมื่อราว 100 ปีก่อน 
เป็นของเก่าที่ควรเก็บไว้เพื่อให้เป็นอาคารประวัติศาสตร์ หรือคุกประวัติศาสตร์ 
และให้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์คุก หรืออาคารเก่าแก่ที่อาจทรงคุณค่า 
เพื่อให้เยาวชนได้มาเยี่ยมชมจะได้เกิดความหวาดกลัวต่อการจำขัง ไม่กล้ากระทำความผิด 
และยังเสนอให้ปรับบางห้องไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวเข้าพักเพื่อหารายได้ด้วย 

กลุ่มที่สาม ยึดหลักการใช้ประโยชน์เสนอว่า ควรรื้อคุกและให้ใช้เป็นที่ทำการขององค์กรต่างๆ เช่น 
จัดสร้างสถาบันล้านนาศึกษา รวมทั้งเป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ 
ที่ทำการของศิลปินพื้นเมือง หมอเมือง หอฝึกซ้อมและแสดงดนตรีพื้นเมือง 
ห้องสมุนไพร ห้องฝึกอบรมเยาวชน ห้องผู้สูงอายุ เป็นต้น 

กลุ่มที่สี่ ซึ่งยึดหลักที่ว่า เมืองใหญ่ต้องมีสวนสาธารณะ ยึดหลักการของการวางผังเมือง 
โดยเสนอให้รื้อคุกและจัดสร้างสวนสาธารณะ เพราะเมืองเชียงใหม่ยังขาดสวนขนาดใหญ่กลางเมือง 
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อชาวเมืองและนักท่องเที่ยว 
การจัดทำพื้นที่โล่งกว้างกลางเมืองมีความจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตของเมือง ทำหน้าที่เป็นปอดของเมือง 
เพราะเมืองควรมีที่โล่ง เพื่อไม่ให้ผู้คนเห็นแต่ตึกแทบทุกจุด จนเกิดความอึดอัด โหยหาธรรมชาติ 
พื้นที่สวนสาธารณะใหญ่แห่งนี้ยังสามารถใช้เป็นบริเวณสำหรับจัดงานพิธีงานมงคลต่างๆ การแสดงศิลปะวัฒนธรรม 
หรือกีฬาขนาดเล็ก กลุ่มที่ห้า ยึด หลักเศรษฐกิจนิยม เสนอให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้า 
จัดงานถนนคนเดิน หรือ ทำลักษณะคล้ายสวนจตุจักรที่กรุงเทพฯ


ภาพถ่ายเก่าแก่เลือนรางภาพนี้เป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบัน 
สันนิฐานว่าอาจเป็นคุ้มเวียงแก้วที่สร้างในสมัยพระเจ้ากาวิละ ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า 
พื้นที่ของทัณฑสถานหญิงคือสถานที่ตั้งเดิมของคุ้มเวียงแก้ว 
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อที่สยามเข้าสู่ล้านนาเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา 
โดยภาพนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 
ในหนังสือของกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งระบุใต้ภาพไว้ว่า ?เวียงแก้ว จ.เชียงใหม่? 
การจะพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏต้องใช้หลักวิชา ทางโบราณคดีเข้ามาช่วย 
จึงนับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่เราจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของล้านนาไปพร้อมๆ 
กับการมีสวนสาธารณะแห่งใหม่เกิดขึ้นกลางเมือง

จากการประมวลความเห็นของทั้ง 5 กลุ่ม 
และความเห็นส่วนใหญ่ตลอดระยะเวลาของการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะอนุกรรมการฯ 
จึงขอสรุปความเห็นที่สอดคล้องและครอบคลุมกับความเห็นของคนส่วนใหญ่ได้เกือบ 
ทั้งหมดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุด ดังต่อไปนี้ 

1. รื้ออาคารคุกและบ้านพักข้าราชการทั้งหมดออกไป แต่ก่อนที่จะรื้อถอน ควรศึกษารูปแบบ 
และลักษณะทั้งหมดของอาคาร ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีค่า 
เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดไปจัดแสดงเป็นงานพิพิธภัณฑ์ หรืองานนิทรรศการต่อๆไป 
อย่างไรก็ตามอาคารในทัณฑสถานปัจจุบันนี้ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงจากสภาพเดิมไปแล้ว 
จึงทำให้คุณค่าทางสถาปัตยกรรมได้สูญเสียไปพร้อมกับการดัดแปลงสภาพอาคารนั้นด้วย 
ดังนั้นการเก็บเป็นหลักฐานลงในนิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์บางส่วนน่าจะเป็นการดีกว่า 

2. ปรับพื้นที่ทั้งหมดให้เป็นพื้นที่โล่ง เรียกว่า ?ข่วงหลวง? ให้ปลูกต้นไม้ใหญ่รอบๆ เพื่อให้เกิดความร่มรื่น 
และยังบดบังภูมิทัศน์ที่ไม่สอดคล้อง ต้นไม้ควรเป็นไม้พื้นถิ่นที่มีคุณค่าและเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น 
พื้นที่ส่วนใหญ่จัดทำเป็นสวนกว้าง มีทางเดิน มีม้านั่ง ฯลฯ 
เพื่อให้ชาวเมือง และนักท่องเที่ยวได้ใช้เป็นที่พบปะ พูดคุย พักผ่อน และออกกำลังกาย 
สามารถใช้เป็นสถานที่จัดพิธีการต่างๆ และจัดรายการแสดงที่สำคัญ รวมถึงการแสดงพลังทางสังคม ฯลฯ 

3. เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงและอาคาร สำคัญอื่นๆ 
จึงควรให้มีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยขุดเจาะเฉพาะพื้นที่เป็นช่วงๆ 
หากพบว่าส่วนใดมีความสำคัญอย่างมากทางโบราณคดี 
เทศบาลนครเชียงใหม่ต้องทำการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบผ่านทางสื่อ หรือช่องทางต่างๆ 
และควรมีการรายงานความคืบหน้าของโครงการให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ 
ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นแหล่งโบราณสถานสำคัญกลางเมือง 
ที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ของทั้งชาวเมืองและนักท่องเที่ยว
ในกรณีที่อาจมีการพบหลักฐานสำคัญที่มีผลต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับอดีตของล้านนา 
ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน เทศบาลนครเชียงใหม่ควรหามาตรการที่เหมาะสมในการจัดการพื้นที่นี้ต่อไป 

4. พิจารณาจัดสร้าง ?เวียงแก้ว? หรือ ?หอพระ? ในทำเลที่อยู่ด้านในของข่วงนี้ 
เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะ และยังอาจใช้เป็นฉากหลังของการแสดงแต่ละครั้ง 
นอกจากนี้ อาจจัดทำพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการบนกำแพงหรือศาลารายที่อาจสร้างขึ้นที่ด้าน 
ข้างรอบข่วงหลวงนี้ ด้วยการเสนอเรื่องราวของ ๗๐๐ ปีเศษ
ที่ผ่านมาของการใช้พื้นที่ข่วงหลวงกลางเมืองเชียงใหม่ 
ซึ่งจะรวมถึงเรื่องราวของการสร้างคุกเมื่อช่วง ๑ ศตวรรษที่แล้ว 

5. เสนอเป็นหลักการให้ผู้บริหารเมืองชุดต่อๆไปจัดทำโครงการต่อเนื่อง 
เพื่อขยายพื้นที่นี้ออกไปให้กว้างขวางกว่าเก่าด้วยการซื้อ หรือ เวนคืน 
หรือ ขอรับการบริจาค ทั้งนี้เพราะพื้นที่เวียงแก้วตามแผนที่เดิม 
มีขนาดกว้างกว่าบริเวณที่เป็นทัณฑสถานหญิงในปัจจุบันนี้มาก และ

6. พื้นที่ข่วงหลวงควรใช้ประโยชน์เพื่อการจัดพิธีทางจิตวิญญาณ 
ศิลปวัฒนธรรม การพักผ่อน การศึกษา และนันทนาการต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว 
แต่ไม่ควรอนุญาตให้จัดทำเป็นตลาดนัดแบบสวนจตุจักร หรือ พื้นที่จำหน่ายสินค้าแบบถาวร 
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะ เห็นว่า ข้อเสนอของทั้ง 5 กลุ่มความคิดเห็นนั้น ได้รับการตอบสนองเป็นส่วนใหญ่ 
ข้อเสนอบางข้อที่ต่างออกไปอย่างมากสามารถนำไปทำในบริเวณอื่นๆ ได้ เช่น การสร้างอาคารสำหรับกลุ่ม 
หรือ องค์กรต่างๆ หรือสร้างตลาดอาหารและพืชผล แต่ที่สำคัญ ข้อเสนอทั้ง 6 ข้อนี้ 
น่าจะสะท้อนจุดร่วมของคนส่วนใหญ่ที่สุดที่ได้เสนอความคิดเห็นเข้ามา 
และหากนำไปปฏิบัติก็จะช่วยสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองที่มีรากเหง้า ผู้คนเคารพอดีต 
และบรรพชน เป็นเมืองที่ทุกคนหันหน้าเข้าหากัน ได้ร่วมกันสร้างเมืองแห่งอนาคตที่มีแผนผัง 
มีการวางแผนงาน มีการให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตและศิลปะวัฒนธรรมของประชาชนมากขึ้น 
และในภาพรวมจะเป็นการเพิ่มจุดแข็งให้แก่เมืองได้อีกอย่างหลากหลาย 
รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่อีกหลายๆ เมืองในประเทศไทยของเรา

ขอขอบคุณ ลักขณา ศรีหงส์ ผู้ประสานงานภาคีคนฮักเชียงใหม่ 
และโครงการเขียวสวยหอม, อ.นิรันดร โพธิกานนท์ ชมรมจักรยานวันอาทิตย์, 
อลิสา ยังเยี่ยม หอศิลป์สามกษัตริย์ ที่เป็นแรงบันดาลใจและช่วยประสานงานในการทำสกู๊ปครั้งนี้ให้สำเร็จลงได้ 
รวมถึงทีมงานสร้างสรรค์ ของ COMPASS อันประกอบด้วย สังวรณ์ หอชัยศิวะนนท์, มาเรียม บุญมาลีรัตน์, 
สิรดา และ กรินทร์ มงคลพันธ์ ที่ได้ทำหน้าที่ของสื่อมวลชน 
อันมีหน้าที่รายงานสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเมืองเชียงใหม่อย่างครบถ้วน 
ซึ่งก้าวต่อไปก็เป็นหน้าที่ของชาวเชียงใหม่ทุกคน ที่จะรับช่วงสานต่อ ให้สวนสาธารณะในจินตนาการแห่งนี้สำเร็จ 
ออกมาเป็นรูปธรรมตามเจตจำนง แม้นว่ากว่ากล้าไม้ที่เราปลูกลงดินในวันนี้จะเติบโตสูงใหญ่เหมือนในภาพวาด 
ตามจินตนาการของสล่าธนกร ไชยจินดา อาจต้องใชเวลาร่วมร้อยปีก็ตาม 
แตกเป็นสิ่งที่คนรุ่น เราควรจะภูมิใจมิใช่หรือ เพราะสิ่งที่เราทำวันนี้ก็เพื่อลูกหลานชาวเชียงใหม่ในวันข้างหน้า 
เหมือนที่บรรพบุรุษของเราได้ปลูกต้นไม้ไว้ให้คนรุ่นเราได้ใช้ในวันนี้ 
เป็นภารกิจที่คนเชียงใหม่สืบสานส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยแท้

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก  http://www.compasscm.com
และ  http://www.chiangmai-thailand.net/index_history/jail.html ครับ



https://www.facebook.com/photo.php?fbid=405101366224324&set=a.247136148687514.58143.100001733926729&type=1&relevant_count=1
บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์ ตรงกลางจะเป็นหอคำ หลวงพ่อพระเทพวรสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ

กำลังให้คนออกแบบ ย่อส่วนจากหอคำหลวงลงมา ว่ากันว่าถ้าทำเต็มรูปแบบ อาจใช้งบถึง ๕๐๐ ล้านบาท

------------------------------------------------------------------

บทความเพิ่มเติมจากคุณบางอ้อครับ  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=338739

เปลี่ยนคุก ...ให้เป็นมากกว่าสวนได้ไหม ?

เปลี่ยนคุก ...ให้เป็นมากกว่าสวนได้ไหม  ?
 
ยังไม่มีข้อสรุปใดใดออกมาจากการเสวนา ?จากคุกสู่สวน...ควรเป็นอย่างไร ?? ว่าจะทำอย่างไร
กับพื้นที่ 17 ไร่ทัณฑสถานหญิงที่ตั้งอยู่กลางเวียงเชียงใหม่ดี
แต่ข้อถกเถียงวงเสวนา  ได้สะท้อนแนวคิดความต้องการของคนเชียงใหม่กลุ่มหนึ่งต่อการจัดการพื้นที่นี้
ในอนาคต โดยเฉพาะสาระสำคัญหนึ่งที่เห็นว่า ไม่ควรที่จะจำนนอยู่เพียงโจทย์เดิมที่ว่า 
จากคุกแล้วต้องมาเป็นสวนได้หรือไม่  ในเมื่อพื้นที่นี้มีคุณค่าอันซ้อนทับทางประวัติศาสตร์หลายยุคสมัย  
ย่อมควรจะต้องมีข้อเสนอหรือทางเลือกที่มากมายต่ออนาคต มิใช่หรือ ?
 
หลังกำแพงแน่นหนาสีครีมและขดลวดหนามรายล้อม  ปัจจุบันทัณฑสถานแห่งนี้กักขังอิสระของนักโทษหญิงไว้ทั้งสิ้น
 1,391 คน น้อยคนนักที่จะรับรู้ความเป็นไปด้านใน และแทบไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งปลูกสร้างที่ผ่านกาลเวลามากว่า 106 ปีนั้น
มีแง่มุมอดีตเช่นไรบ้างที่ซุกซ่อน หลงเหลืออยู่บ้าง 
 
แต่ไม่เกินกลางปี 2552  ทัณฑสถานหญิงแห่งนี้จะต้องถูกเปิดออกปรากฏต่อสายตา 
เพราะต้องย้ายทุกสิ่งอย่างไปอยู่ที่เรือนจำกลางข้างศาลากลางเชียงใหม่  ข
ณะที่นักโทษชายจากเรือนจำกลางนั้นจะย้ายไปอยู่เรือนจำใหม่ที่อำเภอแม่แตงแทน
 
การย้ายนี้เป็นไปตามแผนการใช้ที่ดินของจังหวัดเชียงใหม่ ที่กำหนดให้เขตเมืองเก่าเป็นพื้นที่ที่สมควรอนุรักษ์
หากกิจกรรมของหน่วยงานใดขัดแย้งกับนโยบายอนุรักษ์นี้ ก็ต้องย้ายไปอยู่นอกเขตคูเมือง  
นี่เองจึงเป็นที่มาให้ศาลากลางหลังเก่าต้องย้ายออกให้อาคารเดิมกลายเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ 
บ้านพักอัยการก็ย้ายออกปรับปรุงเป็นหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่   ศาลแขวงก็ย้ายออกปรับปรุงให้เป็นหอศิลปะล้านนา 
และล่าสุดทัณฑสถานหญิงที่จะย้ายออกไปและแผนงานที่กำหนดไว้ของเทศบาลนครเชียงใหม่คือให้เป็นสวนสาธารณะ
 
แต่ปรากฏว่า เวทีเสวนา ?จากคุกเป็นสวน ควรเป็นอย่างไร?? กลับไม่มีการลงรายละเอียดว่าควรจะเป็นสวนอย่างไรกันมากนัก 
แต่มีข้อเสนอให้เปิดทางเลือกใหม่ที่กว้างขึ้นกว่าการจะล็อคความคิดกันอยู่แค่เพียงการเป็นสวน 
 
 
การเสวนาจากคุกเป็นสวนควรเป็นอย่างไร (จากซ้าย)
บางอ้อ -  สมโชติ อ๋องสกุล - อินสม ปัญญาโสภา - บุญเสริม สาตราภัย - วิจิตร ไชยวัณณ์
 
ก่อนทำบนดินต้องศึกษาใต้ดิน
 
อมูลประวัติทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ระบุว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งพระราชวังของพระมหากษัตริย์อาณาจักรล้านนาในอดีต
เรียกว่า เวียงแก้ว คาดว่าเป็นพระราชวังที่ประทับของพญามังราย ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่
 
แผนที่ของกระทรวงมหาดไทย แผนกก่อสร้างสมัยรัชกาลที่ 5  หรือราว 100 ปีที่ผ่านมา
ก็มีการระบุถึงพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่โดยเฉพาะเขตที่เป็น ?เวียงแก้ว?
 
อาจารย์สมโชติ  อ๋องสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ล้านนา กล่าวว่า การจะดำเนินการต่อไปในพื้นที่นี้
จะต้องเริ่มต้นที่หลักฐานประวัติศาสตร์อย่างน้อย 3 อย่างที่ปรากฏอยู่คือ 1.ที่บริเวณนี้มีซุ้มประตูโขงข้างคุกที่เก่าแก่
มีลายปูนปั้นงดงามแบบเดียวกันกับซุ้มประตูโขงวัดเจ็ดยอดซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030)
ส่วนล่างมีลายปูนปั้นรูปสิงห์สวยงามถูกทอดทิ้งเอาไว้ รวมทั้งศาลเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก  2.แผนที่กลางเวียงในยุค  ร.5
หรือเมื่อ 100 ปีที่แล้วที่มีที่ดินระบุชื่อเจ้าของเป็นรายแปลง สันนิษฐานว่าเป็นของเจ้าหลวง 3 องค์ คือเจ้ากาวิละ 
เจ้าธัมมลังกา   เจ้าเศรษฐีคำฝั้น  และสันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ. 2339 ที่พญากาวิละเข้ามาฟื้นเมืองเชียงใหม่
ก็ได้เริ่มใช้พื้นที่ตรงนั้นเป็นเวียงแก้ว 3. ภาพหลักฐานตัวสถาปัตยกรรมคุ้มเวียงแก้วที่งดงาม
และคุ้มหลายคุ้มในเขตเวียงแก้วนี้ได้ถูกรื้อเพื่อสร้างเป็นศูนย์ราชการในยุคสยามเปลี่ยนการปกครองเป็นเทศาภิบาล
 
อาจารย์สมโชติ ยังได้นำรูปแบบการย้านคุกของเรือนจำอยุธยามาแสดงว่า ยังรักษาสัญลักษณ์คุกบางส่วนไว้
คือป้อมยามและกำแพงบางช่วง  แต่มีการเปิดพื้นที่ด้านในซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณและบูรณะ

?กรณีคุกเชียงใหม่ ผมจึงยังไม่อยากให้ฟันธงว่าจากคุกเป็นสวนแล้วจบลงที่จะเอาสวนแบบไหนกัน  
หลักฐานขณะนี้เรามีคุกบนดิน ใต้ดินก็มีความซับซ้อนแห่งยุคสมัย 700 ปี 
ที่จะเป็นการดึงดูดการให้ความรู้ต่อยอดทุนทางประวัติศาสตร์ต่อไปได้ในอนาคต? 
 
            
            แผนที่สมัยรัชกาลที่ 5 ในพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่
 
คุกในคุ้ม-คุ้มในคุก

             อาจารย์สมโชติกล่าวว่า ปกติทุกคุ้มใหญ่ของล้านนาจะมีคุกอยู่ในคุ้มทั้งสิ้น เช่น คุกที่คุ้มเจ้าอุปราช
ที่ปัจจุบันคือโรงพักกองเมือง  คุกที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์กลางเวียง เมื่อมีการตัดสินคดีเสร็จนักโทษจะข้าคุก ถ้าโชคดีเจ้านายบวช
เจ้านายทำบุญ  คนในคุกก็ได้รับอภัยโทษ  แต่เมื่อปี 2416  เรามีสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ 1  เริ่มที่จะมีปัญหาจัดการคุก
ให้มีประสิทธิภาพ ราชการสยามซึ่งเดิมอยู่ทางริมแม่น้ำปิง จึงขอพื้นที่จากเจ้าหลวงทำศูนย์ราชการในกลางเวียง รวมทั้งคุก
จึงมีการรื้อคุ้มสร้างคุกอย่างสมบูรณ์แบบมาตามลำดับ 
 
สวนสาธารณะเต็มเมือง ขอใช้พื้นที่ผสมผสาน

               ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า คุกแห่งนี้ก็เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ล้านนา แม้น้อยคนนักจะได้เห็นด้านใน 
แต่ก็ปรากฏอยู่เป็นอาคารที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 อายุประมาณ 106 ปีรวมทั้งสิ้น  6 หลัง เป็นลักษณะอาคาร 2 ชั้น
ก่ออิฐหนา ในจำนวนนี้ 2 อาคารอยู่บริเวณทางเข้าด้านหน้า ซึ่งมีประตูทางเข้าผ่านกลางตึก และอยู่บริเวณด้านหลัง
มีประตูทางออกผ่านกลางอาคาร ซึ่งปัจจุบันได้ปิดไว้ไม่ใช้งาน ส่วนอีก 4 อาคาร เป็นอาคาร 2 ชั้น เป็นที่พักผู้ต้องขัง
ลักษณะอาคารก่ออิฐทึบมีประตูและช่องแสง  
 
          
                     หลักฐานภาพถ่ายคุ้มเวียงแก้วในอดีต
 
           อินสม ปัญญาโสภา บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ กล่าวว่า อดีตผอ.ทัณสถานหญิงได้เคยบอกว่า
ด้านในมีคุกสำหรับขังนักโทษขังเดี่ยวที่เป็นนักโทษผู้ชาย   5 ห้อง และยังมีคุกมืดใต้ดินที่อนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
มีอาคารที่เก่าแก่อายุอายุกว่า 100 ปี สวยงาม  ถ้าอนุรักษ์ไว้แล้วเปิดให้คนเข้าไปชม คิดว่าได้เงินมากเหมือนคุกอิตาลี
ที่ท่านไปชมมา แต่เมื่อตนก็ได้นำความเห็นนี้ไปสอบถามอาจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ก็แสดงความรู้สึกว่าไม่ควรอนุรักษ์ไว้
เพราะที่นั่นเป็นคุ้มเจ้าหลวงมาก่อน และเหตุผลในอดีตผู้มีอำนาจขยายอาณาเขตเข้ามาครอบครองพื้นที่ในภาคเหนือ 
ใช้ที่คุ้มเจ้าหลวงเป็นคุกขังคน เหตุผลก็คือว่าต้องการตัดไม้ข่มนามและเห็นว่าควรเปิดพื้นที่เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชน
 
             ส่วนกรณีจะสร้างสวนอย่างไรให้เป็นประโยชน์ อินสมเห็นว่าปัจจุบันสาวนสาธารณะในเมืองเชียงใหม่มีมากมาย
แต่ไม่ค่อยมีใครไปใช้ประโยชน์เต็มที่  ดังนั้นการจะใช้พื้นที่คุกนี้นั้น  ที่สุดแล้วประวัติศาสตร์ก็เป็นประวัติศาสตร์ 
แต่ประวัติศาสตร์บางทีก็เป็นแค่ประวัติศาสตร์ สิ่งที่ปรากฏร่องรอยไม่เห็นแล้ว ความเห็นส่วนตัวอยากให้ผสมผสาน
อนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งเป็นสาธารณะประโยชน์ ทุกคนเข้าไปใช้ได้
 
      
                                  ศาลใกล้ซุ้มประตูโขง   
   
คุกใต้ดินแห่งเดียวจริงหรือ ?
           ?บางอ้อ?ในฐานะผู้ดำเนินรายการให้ข้อมูลต่อวงเสวนาเพิ่มเติมว่า  ได้สัมภาษณ์  สหวัฒน์ แน่นหนา
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่  ถึงประเด็นที่มีการระบุว่ามีคุกใต้ดินแห่งเดียวนั้น จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่า
ใช่จริงหรือ  เนื่องจากเคยมีผู้รับเหมาซ่อมแซมอาคารทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่นี้เคยเล่าให้ฟังว่า  ฐานของเรือนนอน 3
และ 4 นั้น ปรากฏฐานลักษณะก่ออิฐเป็นวงกลมเป็นแนวอุโมงค์ยาว  ซึ่งใช้เป็นตัวระบายอากาศฯ และรับน้ำหนักด้วย  
แต่ในการซ่อมแซมครั้งนั้นได้มีการวางตอม่อนบางจุด ซึ่งไม่สามารถเดินทะลุอุโมงค์นั้นได้แล้ว  
ดังนั้นน่าจะได้มีการสำรวจ ค้นคว้าและพิสูจน์ดูว่าลักษณะโครงสร้างอาคารเช่นนี้เป็นอุโมงค์ระบายอากาศหรือคุกใต้ดินกันแน่
เพราะขณะนี้ไม่มีใครทราบว่าคืออะไร
 
                    
 
ส่วนความเห็นต่อการพัฒนาพื้นที่นี้นั้น นายสหวัฒน์บอกว่า อย่างไรเสีย พื้นที่แห่งนี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่
อย่างชัดเจน การคงไว้ซึ่งอาคารบางส่วน หรือป้อมปราการ และใส่เรื่องราว ข้อมูลพัฒนาการของพื้นที่แห่งนี้ไว้เพื่อให้
คนรุ่นหลังได้รับรู้ และที่เหลืออาจทำเป็นโมเดลจำลองให้เห็นถึงสภาพที่เคยเป็น และสภาพก่อนหน้านี้ก็ได้ 
เพราะหากรื้อทิ้งเสียหมดแล้วคนรุ่นอื่นๆ จะเห็นของจริงจากที่ใดว่าพื้นที่นี้เคยเป็นคุก นอกจากจะเห็นภาพถ่ายเท่านั้น
 
ส่วนข้อเสนอให้รื้อทิ้งทั้งหมด ด้วยมองว่าสิ่งนี้แสดงถึงการย่ำยีคนเมือง เพราะสยามเข้ามามีบทบาทเหนือเชียงใหม่นั้น
เขามองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือพัฒนาการทางประวัติศาสตร์  เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการแสดงออกถึงอำนาจอีกขั้วหนึ่ง
ในอดีต  แต่อย่างไรก็เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญปัจจุบันสยามและล้านนาก็ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
 
ทำอะไรต้องคำนึงถึงที่มาของพื้นที

               บุญเสริม ศาตราภัย ช่างภาพชื่อดังของล้านนาจากหนังสือพิมพ์คนเมืองในอดีต กล่าวว่า  สิ่งที่เราต้องคำนึงถึง
ในการเปลี่ยนแปลงใดใดนั้นคือที่มาของพื้นที่ด้วย    เมื่อ 2520 ผมทำงานหนังสือพิมพ์คนเมือง
เราได้ข่าวทายาทตระกูล ณ เชียงใหม่ ทวงพื้นที่ศาลากลางจังหวัดคืน หลังจากที่ทางการจะเลิกใช้ศาลากลางหลังเก่าอันนี้
เพื่อไปสร้างที่ใหม่ ผมรู้จักกับเจ้านายฝ่ายเหนือคนหนึ่งซึ่งสนิทสนมกันมาก  แกเรียกผมไปพบที่บ้านเอาสำเนาหนังสือ
เขียนถึงพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรี ขอทวงพื้นที่ศาลากลางคืนเพื่อที่จะนำไปทำประโยชน์
เป็นสมาคมนักเรียน นักศึกษา ดารารัศมี โดยมีหอประชุมอินทวโรรสอยู่ตรงกลางในบริเวณนี้ เพราะเห็นว่าบรรพบุรษ
ได้ยกที่ให้เป็นสถานที่ราชการหลายแห่ง เมื่อไม่ใช้ประโยชน์แล้วก็ขอคืน เจ้านายฝ่ายเหนือคนนี้แกบอกว่าน้อยใจ
ที่ทางการไม่เอ่ยชื่อถึงเลย รื้อป้ายออกหมด?
 
  ซุ้มโขงที่อยู่ใกล้คุก ความเก่าแก่ในยุคติโลกราช
 
ของโบราณทุบง่ายสร้างยาก

วิจิตร  ไชยวัณณ์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์คนเมือง กล่าวว่าในเมื่อรัฐต้องการคืนให้แก่พวกเรา
ผมก็เห็นว่าเราน่าจะทำเป็นสวนหย่อม และเราควรจะรักษาตึกและเรือนจำต่างๆ แม้แต่คุกต่างๆ เอาไว้เพื่อความทรงจำ
ทางประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เมื่อทำลายไปแล้วจะสร้างขึ้นมาไม่ได้แล้ว ตามความเห็นของผมอยากให้รักษาไว้
ให้เป็นประวัติศาสตร์ สิ่งโบราณต่างๆ เราสามารถทุบทำลายภายใน 1-25 วันแต่เราสร้างไม่ได้
 
เช่นกรณี โบสถ์คริสจักรที่ 1 เชียงใหม่ คณะกรมการคริสเตียนเคยเห็นว่าโบสถ์สร้างติดถนน ริมน้ำปิงเกินไป
สมควรรื้ออกไป มีการลงมติให้ย่น แต่ตนทราบว่าโบสถ์หลังนี้สร้างโดยหมอชิ๊กที่การก่อสร้างโบสถ์แห่งนี้
จะไม่ได้ใช้เสาเลย  แต่ตั้งแวงและก่ออิฐขึ้นมาเลย จึงไปบอกนายแพทย์จินดา สิงหเนตร และบอกว่าควรจะอนุรักษ์
จึงมีการเปลี่ยนมติของกรรมการ ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบสถ์หลังนี้ว่าเป็นโบราณสถานห้ามรื้อถอน 
และเป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์เชียงใหม่ ที่มีศาสนาคริสเตียนเข้ามา 
เมื่อเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งก็ควรที่จะรักษาไว้   
 
     

คิดเพิ่มให้หลากหลายบนข้อมูลที่ชัดเจน

บัณรส บัวคลี่  ผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า  เรากำลังพูดคุยถึงเรื่องที่ดำเนินไปในส่วนราชการคือจะมีการคืนพื้นที่
จากกรมราชทัณฑ์ให้เทศบาลนครเชียงใหม่ และผู้บริหารเทศบาลยุคนั้นก็ตั้งโครงการมารองรับและคิดว่า
จะให้เป็นสวนสาธารณะ  แต่อะไรคือสิ่งที่คนเชียงใหม่อยากได้อย่างแท้จริง ควรได้พูดคุยให้หลากหลาย
กว้างขวางกว่านี้

?ผมไม่กล้าที่จะระบุไปเลยว่าจะต้องเป็นอะไร อยากให้เป็นคุกหรือไม่ เพราะยังไม่มีใคร
หรือคณะกรรมการใดเข้าไป ประเมินคุณค่าสิ่งปลูกสร้างอายุ 100 ปีในนั้นเลย  เราเป็นเพียงคนนอกกำแพงคุก
หรือเข้าไปเห็นมาบางครั้ง และยังไม่รู้ว่าสิ่งที่อยู่ด้านในเป็นคุกใต้ดินจริงหรือ  ผมจึงมีข้อเสนอไปยัง
ผู้บริหารเทศบาลนครเชียงใหม่ว่า  ควรจะเปิดรับฟังความเห็นเรื่องนี้ให้กว้างขวางมากที่สุดว่า
เราจะได้ที่ดินมาเราจะทำอย่างไร มีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่นอกจากสวน คุณค่าของพื้นที่นี้
มีหลายยุคหลายสมัยทับซ้อนกันอยู่ เลือกหยิบให้มาผสมผสานดีหรือไม่  หรือบางคนบอกว่าเป็นคุกสุดยอดแล้ว
แต่แท้ที่จริงอาจเป็นเพียงแค่อาคารเปล่าๆ สู้คุกบางขวางไม่ได้ เราควรได้ระดมความเห็นให้มีทางเลือกให้มากกว่านี้?
 

ภายใต้กำแพงหนานี้มีประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่ซุกซ่อนอยู่ทั้งบนดินและใต้ดิน
 
ไม่เอาสวนไม่เอาคุกให้นึกถึงเยาวชน
 
ผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้บริเวณเรือนจำเห็นว่าเยาวชนของจังหวัดเชียงใหม่ทุกวันนี้ขาดพื้นที่ 
จุดตรงที่ที่เป็นคุกที่จะพัฒนาขึ้นมาอยู่ใกล้โรงเรียน ใกล้แหล่งที่เยาวชนจะต้องชุมนุม น่าจะแบ่งโซนการใช้พื้นที่
ให้เป็นอะไรได้ทั้งนั้น สำคัญที่ว่าคือควรมองถึงเยาวชนเป็นหลักหรือไม่   
 
?สำหรับผม สวนสาธารณะเลิกมองได้เลย เพราะเชียงใหม่เราทำสวนสาธารณะก็นึกแต่ต้นไม้ ดอกไม้
นึกแต่ความสวยงาม ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ เราควรมองหา ความยั่งยืนของสถานที่  
เช่นสถานสุขภาพเพื่อออกกำลังกาย?  ผสมผสานคุกในสวน
 
ว่าที่ร้อยตรีวินัย วินัยสถาพร  ผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่าเห็นว่าเทศบาลฯ น่าจะมีวิธีสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น
โดยเห็นว่าน่าจะทำผสมผสาน เช่นคุกที่เป็นสวน บางคนให้อนุรักษ์คุกไว้ แต่คุกจะคุ้มค่าแก่การอนุรักษ์หรือไม่
เช่นนั้นเขาทำไมถึงย้ายคุกออกไปเล่า แต่หากบางคนอยากเห็นคุกก็จะน่าประชาพิจารณ์ทั้งคุกและสวน อย่ารีบร้อ
ทั้งปี 52 น่าจะถามความเห็น คุ้มค่าแก่การเก็บไว้หรือไม่ ที่ไปเมืองนอก ของเขาอาจ 500 ปี แต่ของเรามันแค่ 100 ปี
ก่อนจะทำต้องคิดให้ดี    ผมอยากเห็นมีทั้งคุกและสวนอยู่ในนั้น อาจจะทุบกำแพงข้างในเป็นสวน
เห็นโครงร่างของคุกไว้ก็ได้ ที่สำคัญน่าจะได้เปิดประชาพิจารณ์และออกแบบประกวด   
 
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นในเวทีเสวนาแรก ที่ได้แตกแขนงความคิดออกไปไม่เพียงแต่การเป็นสวน
ตามโจทย์เดิมอีกต่อไปแล้ว. ยังคงมีการเตรียมเปิดเวทีสาธารณะเช่นนี้อีกในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551 
(ยังไม่ได้กำหนดสถานที่) ระหว่างนี้ผู้มีความต้องการเสนอความคิดเห็นสามารถเสนอได้ที่ www.cmocity.com 
เขียนจดหมายหรือไปรษณียบัตร มายังคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ถนนพระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 
หรือจะโทรสาร 0-58321-9833 และ 0-5321-7793  .
 
โดย บางอ้อ

  
แชร์ 17684 ดู | 0 ความเห็น

Footprints

ความเห็น