เข้าระบบ

ชื่อผู้ใช้

รหัสผ่าน

  ล ง ท ะ เ บี ย น  

เปิดรูปที่ 84|ทั้งหมด 85 รูป 

งานสรงน้ำพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น (ภาพนี้เป๋นองค์จำลองเน่อครับ)

แชร์

อัพโหลดเมื่อ 2011-04-01 17:28 (522 KB)

  • thejeekung
    พระแก้วขาว ของเก่าเมินแล้ว ของคู่เมืองแก้ว เวียงพิงค์...
    ศักดิ์สิทธิ์แต๊ๆ แน่ในใจ๋จริ๋ง เป๋นตี้เปิ้งปิง จายญิงหนุ่มเฒ่า...
  • thejeekung
    พระแก้วขาว? หรือ ?พระเสตังคมณี?เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตราย
    และอำนวยความ สุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะและได้   ปรากฏว่าในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูป สำหรับบูชา
    ประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย และพระเจ้าเม็งรายมหาราช
    (หรือพระเจ้ามังราย) ปฐมวงศ์เม็งราย ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยและกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย
    และนครเชียงใหม่ ในยุคต่อๆ มา   ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น ในตำนานได้กล่าวถึง
    การสร้างไว้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้วได้ 700 ปี ในวันเพ็ญเดือน 7 พระสุเทวฤๅษี
    ได้เอาดอกจำปา 5 ดอก ขึ้น    ไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ ได้พบปะสนทนาด้วยพระอินทร์
    พระอินทร์จึงบอกกล่าวแก่สุเทวฤๅษีว่า    ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญที่ลวะรัฏฐะ จะสร้างพระพุทธปฏิมากรด้วยแก้วขาว
    ครั้งสุเทวฤๅษีกลับจากดาวดึงษ์เทวโลกแล้วจึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้
    กับพระกัสสปเถระเจ้าปรารภการที่จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจาก
    จันทเทวบุตร แล้วขอพระวิศณุกรรมมาเนรมิต สำเร็จรูปเป็นองค์พระพุทธปฏิมากรสุเทวฤๅษีและฤๅษีองค์อื่นๆ
    ก็ได้ประชุมช่วยในการสร้างองค์พระด้วย ครั้นสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม)
    พระนลาต(หน้าผาก) พระอุระ (หน้าอก) พระโอษฐ์(ปาก) รวม 4 แห่งเมื่อสร้างเสร็จแล้ว        พระแก้วขาว
    ก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน ถึงสมัยพระฤๅษีสร้างนครหริภุญชัยขึ้นแล้ว
    ใช้ให้ควิยะอำมาตย์ ไปเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้มาครองเมืองหริภุญชัย
    พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดานิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)
    มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ พระแก้วจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูนแต่นั้นมาเป็นเวลา
    นานหลายร้อยปี บรรดากษัตริย์ที่ครองเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) ทั้งวงศ์เดียวกับพระนางจามเทวีและต่างวงศ์
    ต่างได้เคารพบูชาเป็นประจำองค์มาทุกวงศ์ และได้สร้างหอประดิษฐานไว้ในพระราชวัง พระเสตังคมณี
    ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองลำพูน ตลอดมาจนกระทั่งรัชสมัยของพระยายีบาเป็นกษัตริย์ครองเมือง
    ในครั้งนั้นพระเจ้าเม็งรายซึ่งเป็นเจ้าครองนครเงินยวง(เชียงแสน) ได้ยกกองทัพไปปราบบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ
    ที่ยังแข็งเมืองอยู่ให้เข้ารวมอยู่ในอำนาจของพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว แต่นครหริภุญชัยในครั้งนั้น
    มีกำลังเข้มแข็งมาก พระองค์จึงคิดกลอุบายให้ขุนอ้ายฟ้า ราชวัลลภคนสนิทไปทำการจารกรรมนานถึง 7 ปี
    ขุนอ้ายฟ้าเห็นได้โอกาสแล้วจึงส่งข่าวไปให้พระเจ้าเม็งรายให้ยกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัยโดยด่วน
    พระเจ้าเม็งรายยกกองทัพมาตีเมืองหริภุญชัยในปีพุทธศักราช 1824 ชาวเมืองที่ไม่ยอมทิ้งเมือง
    เข้าต่อสู้อย่างเข้มแข็งดุเดือด กองทัพเม็งรายต้องใช้ธนูไฟเพลิงยิงเข้าไปทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมือง
    ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพระเจ้าเม็งราย
                  
    เมื่อยกเข้าเมืองได้แล้ว พระเจ้าเม็งรายจึงเสด็จออกตรวจดูความเสียหาย สิ่งที่ทำให้พระองค์
    ทรงประหลาดพระทัยที่สุดคือ     หอพระซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระยายีบา หาได้ถูกเพลิงไหม้
    แต่บริเวณรอบๆ นั้นถูกเพลิงเผาผลาญพินาศหมด พระองค์จึงเข้าไปทอดพระเนตรดู เห็นพระแก้วขาวสถิตอยู่ ณ ที่นั้น
    ก็เกิดมีพระราชศรัทธาปสาทะเป็นอันมากจึงอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์
    ทรงเคารพสักการบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์แต่นั้นมา ต่อเมื่อพระองค์มาสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี
    เมื่อปีพุทธศักราช 1839 ได้อัญเชิญพระแก้วขาวมาประดิษฐานในพระราชวังจนตลอดรัชกาล
    แม้ในเวลาเสด็จออกศึกก็ทรงนิมนต์พระแก้วขาวไปด้วยทุกครั้ง พระองค์มิได้ประมาทในพระแก้วขาวเลย
    เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว พระแก้วขาวก็ยังคงประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่ตลอดมาจนกระทั่งถึง      
    รัชกาลของพระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ 11   แห่งราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
    ได้ทำนุบำรุงการพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่ายุคใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต
    ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสร้างถาวรวัตถุในวัดวาต่างๆ และสร้างหอพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไว้ใน
    พระอารามราชกุฏาคารเจดีย์(คือเจดีย์หลวง) ในปีพุทธศักราช 2022 ในยุคนี้พระพุทธรูปสำคัญหลายองค์
    ได้มาประดิษฐานในนครเชียงใหม่พระแก้วขาวได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช
    มาตราบถึงสมัยของพระยอดเชียงราย ราชนัดดา ในสมัยนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วขาวคือ
    ในครั้งนั้นมีราชบุตรพระยาเมืองใต้ชื่อสุริยะวังสะบวชเป็นภิกษุขึ้นมาจำพรรษาอยู่วัดเวฬุวัน(กู่เต้า)
    ในระหว่างปีพ.ศ. 2030 - 2049 ได้มารักใคร่ชอบพอกับนางท้าวเอื้อยหอขวาง ราชธิดาของพระเจ้าติโลกราช
    เป็นอย่างยิ่ง สุริยะวังสะภิกขุมีความประสงค์อยากได้พระแก้วขาว จึงรบเร้าขอให้นางท้าวเอื้อยหอขวาง
    จัดการให้ นางท้าวเอื้อยฯจึงทำกลอุบายว่าป่วยไข้ ขออาราธนาพระแก้วขาวมาสักการบูชาในที่อยู่ของตน
    เพื่อหายป่วยไข้ ครั้นนานหลายวันเข้า พันจุฬาผู้รักษาหอพระจึงมาขอเอาพระแก้วคืน นางท้าวเอื้อยฯก็ให้
    ทองคำพันหนึ่งเป็นสินบนปิดปาก แล้วนางจึงเอาพระแก้วขาวใส่ไว้ในสถูปแล้วใส่ถุงคลุมมิดชิดดีแล้ว
    ใช้ให้อ้ายกอน ทาสชายนำไปถวายแก่สุริยะวังสะภิกขุ จากนั้นสุริยะวังสะภิกขุจึงเอาไม้เดื่อมาแกะเป็นองค์
    แล้วเอาพระแก้วขาวใส่ไว้ภายในแล้วก็พาหนีไปเมืองใต้เสียต่อมาในปีพ.ศ. 2035 พระยอดเชียงรายราช
    ให้ทรงสร้างพระอารามขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้เมือง ให้ชื่อว่าวัดตะโปทาราม(วัดรำพึง) ด้วยมีพระประสงค์
    จะเอาพระแก้วขาวไปประดิษฐานไว้ที่นั้น เมื่อทราบข่าวว่าพระแก้วหายไป จึงสืบสวนได้ความจากอ้ายกอนว่า
    นางท้าวเอื้อยหอขวางได้ใช้ให้ตนนำไปถวายแก่สุริยะวังสะภิกขุ และได้นำพระหนีไปจากเมืองแล้ว
    พระยอดเชียงรายได้ใช้ราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการและราชสาส์น ไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
    เพื่อขอพระแก้วคืน พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาตอบพระสาส์นมาว่า สืบหาก็ไม่ได้ความ และหาที่ไหนก็ไม่พบ
    พระยอดเชียงรายราชขัดพระทัย จึงยกกองทัพไปยังกรุงศรีอยุธยา อยู่ได้เดือนหนึ่งจึงได้พระแก้วขาวคืนแล้ว
    จึงเลิกทัพกลับมา พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ตามเดิม ในปัจจุบันนี้ พระแก้วขาว(เสตังคมณี)
    ประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่น เมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นมิ่งขวัญของชาวเชียงใหม่เป็นปูชนียวัตถุชิ้นสำคัญ
    ของชาวลานนาไทยสืบต่อมา

    http://watchiangman.net78.net/crystal.html